Blog
วิธีการแต่งงานในประเทศฝรั่งเศสสําหรับคนไทย
- 13 février 2023
- Publié par : Admindhappystory
การแต่งงานถือเป็นการเปลี่ยนสถานะภาพจากโสดเป็นสมรส สําหรับการแต่งงานกับชาวฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีขั้นตอนและรายละเอียดที่ท่านควรทราบ
แต่ก่อนอื่นเรามาดูสิทธิที่ท่านจะได้รับหลังจากการจดทะเบียนสมรสในฝรั่งเศสกันก่อน
- ใช้นามสกุลร่วมกันได้ ✔️
- หากมีบุตร ท่านและคู่สมรสจะเป็นบิดาและมารดาของบุตรโดยอัตโนมัติ✔️
- สามารถรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้✔️
- เมื่ออยู่อาศัยด้วยเป็นเวลา 4 ปีแล้ว สามารถทําเรื่องขอสัญชาติได้✔️
- ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังสมรส จะกลายเป็นสินสมรสทันที แต่สามารถทําสัญญาก่อนจดทะเบียนสมรสเพื่อระบุว่าจะขอมีทรัพย์สินแยกกัน✔️
- หากคู่สมรสมีสัญญาเช่าของที่อยู่อาศัยก่อนแต่งงาน เมื่อแต่งงานแล้ว ถือว่าทั้งคู่ถือสัญญาเช่าร่วมกัน✔️
- หากคู่สมรสเกิดเหตุฉุกเฉินจนตัดสินใจเองไม่ได้ ทนายสามารถแต่งตั้งเราให้มีอํานาจดําเนินการแทนทุก
อย่าง✔️ - กรณีหย่าร้างต้องชําระหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างการสมรสต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่สมรสและดําเนิน
ขั้นตอนซับซ้อนอื่น ๆ ✔️
การเตรียมเอกสารแต่งงาน
ว่าด้วยเรื่อง Dossier de mariage
Dossier de marriage เป็นเอกสารที่จะบอกว่า ในการแต่งงานนั้นท่านและคู่สมรสต้องยื่นเอกสารอะไรหรือใช้เอกสารใดบ้าง ซึ่งสามารถขอได้กับทาง Mairie (ที่ว่าการอำเภอ) ในบริเวณที่ท่านอาศัย
โดยอันดับแรก ให้แฟนไปขอเอกสารแต่งงาน (dossier de mariage) กับทาง Mairie ก่อน บางอําเภอก็พิมพ์วางไว้บนโต๊ะล็อบบี้เมื่อท่านไปถึงสามารถหยิบได้เลย หรือบางอำเภอจะต้อง walk-inเข้าไปอย่างเดียว ไม่โทรไปถามได้เพราะ Mairie จะไม่บอกข้อมูลเอกสารทางโทรศัพท์ได้ เป็นต้น ทั้งนี้เอกสารที่จะใช้ในการแต่งงานจะต่างกันไปในแต่ละอําเภอ รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ด้วย
**ในตอนที่แฟนไปรับใบ dossier de mariage ให้ถามอําเภอไปด้วยว่าสามารถใช้วีซ่าแบบใดได้บ้างในการมาแต่งงานที่ฝรั่งเศส เช่น สามารถใช้วีซ่าท่องเที่ยวมาแต่งงานได้ไหม หรือต้องใช้วีซ่าเยี่ยมเยี่ยนเท่านั้น** |
---|
ในหัวข้อนี้จะเป็นเอกสารหลักที่มักใช้บ่อยในการแต่งงานของอําเภอ จะให้ดีควรยึดตามเอกสาร dossier de mariage ที่ได้ขอมาจากอําเภอ บางอําเภออาจไม่ต้องขอเอกสารบางอย่าง
โดยจะขอแบ่งเป็นสองข้อคือ 1.เอกสารที่คนไทยต้องเตรียม และ 2.เอกสารที่คนฝรั่งเศสต้องเตรียม
บางท่านที่อาจจะไม่ทราบที่ตั้งของ Mairie หรืออาจจะรู้เลขเขตตัวเองท่านสามารถเข้าไปดูได้ โดยคลิ๊กที่นี่
1.เอกสารที่คนไทยต้องเตรียม
- เอกสารราชการฝรั่งเศสทุกฉบับต้องได้รับการรับรอง (légalisation) โดยกรมการกงสุลทุกฉบับก่อนนำไปแปล และเอกสารภาษาไทยที่จะนำไปใช้ในราชการฝรั่งเศสต้องได้รับการแปลโดยนักแปลที่ได้รับการรับรอง (Traducteur assermenté) เท่านั้น
- Passeport กับ Visa (ตัวจริงและถ่ายสําเนา)
- สําเนาสูติบัตร หรือ หนังสือรับรองการเกิด (ทร. 20 หรือ ทร. 1ก.)
- สําเนาทะเบียนบ้าน โดยให้ถ่ายสําเนาเฉพาะหน้าแรกและหน้าที่แสดงชื่อของตัวเอง
- ใบรับรองความโสดพร้อมคําแปลภาษาฝรั่งเศส อายุไม่เกิน6เดือน สามารถขอได้กับสำนักงานเขต **แนะนําให้สอบถาม ว่าในวันที่ขอเอกสารนั้นต้องนำพยานไปด้วยหรือไม่**
- ใบประเพณี* (original de certificat de coutume) : ต้องใช้ฉบับจริง จำเป็นต้องขอ สามารถขอได้จากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส เมื่อได้เอกสารแล้ว ให้ท่านถ่ายสําเนาไว้หลาย ๆ ฉบับ
หมายเหตุ : ท่านสามารถขอทางไปรษณีย์ได้ในเว็บไซต์ (อ่านตรงหมายเหตุ) คล๊กที่นี่
เอกสารอื่น ๆ กรณีที่มี
- ใบมรณบัตรของคู่สมรสคนก่อน : ในกรณีที่ท่านเป็นม้ายเพราะคู่สมรสคนก่อนเสียชีวิต
- ใบหย่า หรือใบแสดงสถานะความเป็นหม้าย (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)
- ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล
กรณีที่ชื่อ-สกุลของบิดาและมารดาไม่ตรงกัน ต้องมีใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลประกอบด้วย
เราจะขอย้ำท่านอีกครั้งว่า เอกสารราชการไทยทุกฉบับ ก่อนที่ท่านจะนำไปแปลกับนักแปลจะต้องได้รับการรับรองสําเนาก่อนเสมอ และเพื่อความรวดเร็ว หลังจากรับรองสำเนาจากกงสุลเสร็จ ให้สแกนเอกสารมาให้นักแปลก่อนที่ท่านจะบินมาฝรั่งเศสเพื่อส่งเอกสารตัวจริงมาให้นักแปล เพื่อความรวดเร็วของเอกสาร
ใบประเพณีคืออะไร?
ใบประเพณีเป็นเอกสารที่ระบุว่าประเทศไทยของเรามีวัฒนธรรม ประเพณีเป็นอย่างไร และเรื่องการออกเอกสารโดยเฉพาะใบเกิดของประเทศไทย ว่าเป็นเอกสารที่จะออกให้ประชาชนเพียงครั้งเดียวและใช้ได้ตลอดชีวิต โดยทั่วไปแล้วสูติบัตรของฝรั่งเศสจะมีอายุเพียง 3 เดือน จึงต้องขอใหม่ตลอดเรื่อย ๆ
ในประเทศฝรั่งเศสจะไม่มีการนำใบเกิดไปถ่ายสำเนา จะเป็นการยื่นใบเกิดตัวจริงไปให้กับหน่วยงานเลย ด้วยจุดนี้เองทำให้เราในฐานะคนไทยจึงต้องมีใบประเพณีที่ออกโดยสถานทูตไทยประจํากรุงปารีสเพื่อยืนยันว่าสูติบัตรไทยเราเป็นเอกสารที่ออกครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต จะให้ใบเกิดตัวจริงกับหน่วยงานฝรั่งเศสไม่ได้เพราะเรามีใบเดียว
2.เอกสารที่คนฝรั่งเศสต้องเตรียม
- เอกสารระบุตัวตน : บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (carte d’identité ou passeport)
- Attestation sur l’honneur
- สูติบัตร (original d’acte de naissance) : ต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน
- เอกสารการยืนยันที่อยู่ (justificatif de domicile ou de résidence) : เช่น บิลค่าน้ําค่าไฟ (relevé d’eau ou d’électricité) สัญญาเช่า (contrat de location) หรือใบเสียภาษีที่อยู่ (relevé desimpôts) เป็นต้น
- รายชื่อพยานในการแต่งงาน (liste des témoins du mariage)
– ฝ่ายหนึ่งจะมีพยานอย่างน้อย 2 คนหรือสูงสุด 4 คน (จํานวนพยานอาจจะแล้วแต่อําเภอกําหนดไม่เหมือนกัน)
– พยานจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป (chacun a 2 à 4 témoins âgés de 18 ans révolus)
– หากพยานคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาได้ในวันนัดหรือไม่มีพยาน นายทะเบียน(officier d’état
civil) สามารถจัดให้ได้ (เช่น เจ้าหน้าที่ศาลากลางจังหวัด)
– สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ -
เอกสารยืนยันตัวตนของพยาน (justificatif d’identité des témoins) ได้แก่
• Nom (นามสกุล)
• Prénom (ชื่อ)
• Date et lieu de naissance (วันที่และสถานที่ที่เกิด)
• Profession (อาชีพ)
• Domicile (ที่อยู่)
• Copie du document d’identité สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่ (carte d’identité, passeport ou permis de conduire) ที่แสดงว่าพยานเป็นใครมาจากไหน
เอกสารอื่น ๆ ถ้ามี
- ถ้าเคยแต่งงานและหย่าแล้ว ให้เตรียมเอกสารการแต่งงานและใบหย่าหรือสูติบัตรที่ระบุว่าหย่าเรียบร้อยแล้ว (divorce : acte de divorce)
- ถ้าเป็นหม้าย ให้เตรียมเอกสารการตายของคู่สมรสคนเก่า หรือ สูติบัตรที่ระบุว่าสามีหรือภรรยาเสียชีวิตแล้ว (veuvage : acte de décès du précédent conjoint ou conjointe)
- ถ้าต้องการแต่งงานแบบมีสัญญา ต้องทําสัญญาแต่งงาน (contrat du mariage)
สัญญากล่าวถึงข้อตกลงต่าง ๆ เช่น การจัดการเรื่องทรัพย์สินก่อนแต่งงาน ทั้งคู่สามารถตกลงกันทําสัญญาได้ แต่ต้องทําเสร็จสิ้นก่อนแต่งงาน ท่านสามารถทําสัญญากับ notaire และนํามายื่นที่ศาลาว่าการเมืองก่อนแต่งงาน - ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีบุตร ต้องนําใบสูติบัตรของบุตร (acte de naissance de progeniture) พร้อมกับ livret de famille มายื่นก่อนแต่งงานด้วย
ลำดับการเตรียมเอกสาร
- เตรียมเอกสารราชการที่เป็นต้นฉบับภาษาไทยที่กล่าวไว้ข้างต้นไปรับรองเอกสาร (légalisation) กับกรมการกงสุลให้เรียบร้อย
- นําเอกสารที่ผ่านการรับรองโดยกรมกงสุลไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสกับเรา
- นําเอกสารที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสไปใช้ได้เลย โดยท่านไม่ต้องไปรับรองคําแปลภาษาฝรั่งเศสกับสถานทูตฝรั่งเศสประจําประเทศไทยหมายเหตุ : ** แต่ละเขตพื้นที่อาจมีเงื่อนไขเอกสารต่างกันหรือขั้นตอนที่ต่างกัน เช่น เอกสารเพิ่มเติม หรือเอกสารที่ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานอื่นๆ ให้ท่านติดต่อทางอําเภอหรือเขตเพื่อสอบถามให้แน่ชัด บางเขตอาจขอให้ท่านนําเอกสารไปรับรองคําแปลที่บางหน่วยงานราชการของไทย แนะนําให้ท่านสอบถามเขตที่อาศัยอยู่ให้ละเอียด**
ท่านสามารถดูขั้นตอนการแปลและส่งเอกสารให้นักแปลได้ที่หัวข้อ1 โดยคลิ๊กที่นี่ - ขอใบรับรองประเพณี (certificat de coutume) ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีสเอกสารที่ใช้ในการขอจะประกอบด้วย
• แบบฟอร์มคําร้องขอใช้บริการงานนิติกรณ์ คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
• สําเนาหนังสือเดินทางไทยที่ยังไม่หมดอายุ จํานวน 1 ชุด
• สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนไทยที่ยังไม่หมดอายุน จํานวน 1 ชุด
• ใบรับรองความเป็นโสดภาษาไทย (ตัวจริง) ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน และได้ผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
• ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร (เงินสด) / ต่อ 1 ฉบับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ - ท่านสามารถส่งเอกสารตัวจริงทั้งหมด (ทั้งภาษาไทยและที่แปลแล้ว) ไปให้แฟนเพื่อดําเนินการได้ แนะนําให้ท่านถ่ายสําเนาเก็บไว้หลาย ๆ ฉบับ
- ให้แฟนไปยื่นเอกสารที่ศาลาว่าการเมือง ทั้งเอกสารของแฟนเองและของท่านเพื่อขออนุญาตแต่งงาน และให้สอบถามMairieว่าจําเป็นต้องใช้ล่ามหรือไม่ ถ้าใช้ทางศาลาว่าการเมืองจะมีรายชื่อล่ามให้ท่านเลือก
*ในกรณีที่ต้องใช้ล่าม ท่านต้องใช้บริการล่าม 2 ครั้ง ได้แก่ วันสัมภาษณ์และวันแต่งงานหรือวันจดทะเบียนสมรส
– วันสัมภาษณ์ : (ความเข้มข้นในการถามของแต่ละคู่อาจแตกต่างกันไป) คําถามทั่วไป เช่น เจอกันที่ไหน คบกันมากี่ปีแล้ว ฯลฯ
– วันแต่งงาน : เจ้าหน้าที่เป็นผู้อ่านข้อมูล โดยมีล่ามเป็นผู้แปลข้อมูล เช่น สิทธิต่าง ๆ, ยอมรับการแต่งงานหรือไหม ฯลฯ - เมื่อสัมภาษณ์เสร็จก็ติดประกาศเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อดูว่าจะมีใครคัดคานการแต่งงานนี้หรือไม่(เป็นธรรมเนียมการแต่งงานของฝรั่งเศส) จากนั้นแฟนของท่านจะได้รับตัวสําเนาจาก Mairie ซึ่งเป็นใบที่แสดงว่าไม่มีใครคัดการการแต่งงาน (certificat de publication et non-opposition)
- ให้แฟนส่งใบในข้อที่ 7 พร้อมเอกสารเอกสารอื่น ๆ ของตัวเองมาให้ท่าน เพื่อนํามาเป็นเอกสารประกอบในการยื่นขอวีซ่า และให้แฟนสอบถามกับ Mairie ว่าสามารถมาเดินทางไปแต่งงานด้วยวีซ่าท่องเที่ยวได้หรือไม่ เพราะบางเขตต้องขอวีซ่าเยี่ยมเยียนสําหรับมาแต่งงานเท่านั้น
- ให้แฟนนัดหมายวันเวลากับ Mairie เพื่อขอจดทะเบียนสมรส แนะนําให้ท่านสอบถามกับ Mairie ก่อนว่าต้องยื่นเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ หากมีข้อสงสัยอื่น ๆ เกี่ยวกับรายละเอียดขั้นตอนให้แฟนสอบถามข้อมูลจากศาลาว่าการเมืองได้เลย เพราะแต่ละเขตอาจมีขั้นตอนบางประการอย่างที่แตกต่างกัน
- เมื่อจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านกลับมาประเทศไทยเพื่อขอวีซ่าระยะยาวติดตามคู่สมรส (Visa de long séjour) และอยู่แบบถาวรในประเทศฝรั่งเศสได้
ขอสรุปเป็นแผนภาพเพื่อให้เห็นภาพตามดังนี้
ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร
ขั้นตอนหลังจากที่นําเอกสารทั้งหมดไปยื่นกับอําเภอเพื่อแต่งงาน
วีซ่า
เมื่อเรายื่นเอกสารที่จะแต่งงานเรียบร้อยให้กับอําเภอ เขาก็จะนําไปติดประกาศว่าจะมีการแต่งงานของ สองคนนี้นะเพื่อดูว่าจะมีคนมาคัดค้านหรือเปล่า เมื่อไม่มีเขาก็จะออกเอกสารที่ชื่อว่า certificat de publication des bans et de non-opposition ซึ่งเอกสารนี้เป็นเอกสารสําคัญที่เราต้องให้แฟนเราส่งกลับมาให้ที่เมืองไทยเพื่อให้เราเอาไปยื่นเพื่อขอวีซ่าเยี่ยมเยียนเพื่อไปแต่งงาน (Visa Schengen)
ทั้งนี้ไม่ควรเตรียมเอกสารล่วงหน้านานเกินไปเพราะบางอําเภอจะให้เอกสารมีอายุแค่3เดือน บางเอกสารมี อายุ6เดือน ให้ท่านถาม Mairie หรือดูในdossier de mariage ว่าเอกสารมีกําหนดอายุเท่าไร
การบันทึกทะเบียนฐานะครอบครัว (คร.22)
คร.22 หรือใบบันทึกฐานะครอบครัว เมื่อท่านจดทะเบียนสมรสที่ฝรั่งเศสเสร็จสถานะของท่านที่ประเทศฝรั่งเศสจะเป็นสมรสเรียบร้อย แต่ที่ไทยสถานะของท่านจะยังเป็น ‘โสด’ อยู่
บางท่านอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การจะเปลี่ยนสถานะที่ประเทศไทยได้นั้นต้องมาแต่งงานที่ไทยด้วยเพื่อที่จะเปลี่ยนสถานะ ซึ่งไม่ใช่ ที่ท่านต้องทำคือมาเปลี่ยนสถานะในใบบันทึกฐานะครอบครัว
หากจะอัพเดทหรือบันทึกทะเบียนฐานะครอบครัวหลัก ๆ ใช้อะไรบ้าง
- พาสปอร์ตของคู่สมรส (ควรแปลพาสปอตไปด้วย บางอําเภอต้องแปลพาสปอร์ตคนฝรั่งเศส และเวลาจะสะกดชื่อภาษาฝรั่งเศสให้สะกดชื่อภาษาไทยมาให้ด้วย *สําคัญ*)
เพราะจะมีกรณีที่ภรรยา (คนไทย) คิดว่านามสกุลของสามี (คนฝรั่งเศส) สะกดในภาษาไทยอย่างนึง แต่เมื่อสามีเห็นแล้วบอกว่าสะกดผิด อันนี้จะเป็นเรื่องใหญ่ภายหลัง เช่น ชื่อ Martin ภรรยาคนไทยสะกดในเอกสารว่า มาร์ติน แต่สามีบอกว่า มาร์ตัง - หลัก ๆ จะใช้แค่แค่ใบแต่งงานกับพาสปอร์ตที่แปล โปรดโทรติดต่ออําเภอว่าต้องใช้อะไรนอกเหนือจากนี้อีกบ้าง
หมายเหตุ :
• กฎหมายและระเบียบทุกข้อมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา หากพบข้อมูลตรงไหนผิดพลาดในทางเว็บไซต์ เราจะขอขอบคุณเป็นอย่างสูงถ้าจะแจ้งเข้ามา ทั้งนี้ควรเช็คในเว็บไซต์ราชการต้นทาง
• รายละเอียดข้อมูลและเอกสารที่ใช้ยื่นเพื่อขอจดทะเบียนสมรสในแต่ละเขตอาจแตกต่างกัน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
เพิ่มเติม
คำตอบ : ได้ครับ ท่านสามารถรอรับได้เลยในวันนั้นหากท่านจองคิวทัน (แนะนำให้จองเป็นช่วงเช้า) โดยการรับรองเอกสารที่รอรับได้เลยจะเรียกว่า “บริการด่วน”
คำตอบ : เราจะใช้เวลาแปล 2 วันต่อ 1 เอกสารครับ โดยระยะเวลาจะไม่นับวันหยุด จะนับวันหลังยืนยันข้อมูลและการชำระเงินเสร็จเรียบร้อย
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคิวในช่วงนั้น ๆ ให้ท่านแจ้งมาเลยว่าต้องใช้เอกสารช่วงไหน เราจะจัดหาคิวให้ครับ
ให้ติดต่อเราได้ทางเพจเฟสบุ๊ก DiiThai คลิ๊ก หรือติดต่อได้ทางอีเมล contact.ddtraduction@gmail.com
สิ่งที่ท่านจะต้องแจ้งกับล่ามดีคือ
1.เมืองที่ท่านอาศัย
2.วันเดือนปีของงานแต่งงาน และช่วงเวลาที่ท่านจะใช้บริการล่ามดี
(อย่างที่เราได้เขียนไว้ว่าล่ามจะใช้ทั้งหมด 2 ช่วงคือ 1.วันสัมภาษณ์ 2.วันแต่งงานหรือวันจดทะเบียนสมรส)
ข้อแนะนำ : ท่านควรจองคิวล่ามดีในการเป็นล่ามงานแต่งไว้ลวงหน้านาน ๆ เพราะล่ามดีอาจจะติดคิว ธุระอื่นหรือคิวเดินทาง
ขั้นตอนการแปลกับเรา
DDtraduction มีนักแปลศาลฝรั่งเศส(traducteur assermenté) ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญด้านการแปลเอกสาร เอกสารภาษาต่างประเทศที่จะนำมาใช้ในระบบราชการฝรั่งเศสทุกฉบับจะต้องได้รับการแปลโดนนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลอุทธรณ์ของประเทศฝรั่งเศส และสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส (Expert traducteur assermenté près la Cour d’Appel) โดยเฉพาะ
DDtraduction พร้อมให้บริการแปลอย่างมืออาชีพด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
รับรองเอกสารจากกรมการกงสุล : เอกสารทุกอย่างต้องได้รับการรับรองก่อนการแปลเพื่อความถูกต้อง
สแกนเอกสารเป็น PDF ให้เราประเมินราคา : ให้ท่านสแกนเอกสารที่ต้องการแปลทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพื่อให้เราประเมินราคาก่อนการแปล และส่งเอกสารมาทางอีเมล contact.ddtraduction@gmail.com
ยืนยันการแปลและราคา : สอบถามประเภทของเอกสารที่ต้องการแปล ประเมินราคา ยืนยันราคา
ชำระเงิน : ท่านสามารถชำระเงินได้ผ่านเช็ค เพย์พาล หรือบัตรเครคิตทั้งไทยและฝรั่งเศส ขอสงวนสิทธิ์ให้กับท่านที่ชำระเงินก่อน หลังจากนั้นเราจะส่งที่อยู่ที่ท่านต้องส่งเอกสารมา
ตรวจสอบความถูกต้อง : เมื่อแปลเสร็จแล้ว ทางเราจะจัดส่งสำเนาแปล PDF ให้ท่านตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น ชื่อ-สกุล ตัวเลข ฯลฯ
ประทับตราเอกสาร : นักแปลจะประทับตราทั้งต้นฉบับและเอกสารแปล
ส่งเอกสาร : ทางเราจะส่งเอกสารให้ท่านทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (lettre recommandée) ส่งเอกสาร : ทางเราจะส่งเอกสารตัวจริงและเอกสารแปลให้ท่านทางไปรษณีย์ และท่านจะต้องนําไปรับรองคําแปลภาษาไทยอีกทีที่สถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ด้วยตนเอง
ในกรณีที่ท่านทราบแล้วว่าจะแปลเอกสารใดบ้าง ท่านสามารถสแกนเอกสารมาให้เราตรวจสอบคร่าวๆและประเมินราคาก่อนได้เพื่อความรวดเร็วในการแปลงานของท่าน
หากท่านมีคำถาม สามารถส่งคำถามมาได้ทางอีเมล contact.ddtraduction@gmail.com หรือเพจเฟสบุ๊ก DiiThaiFrance ได้ที่ลิ้งก์นี้ |
---|
ล่ามดี Dii
Dutsadi BUPPHAKARIPHON
ดุษฎี บุพการีพร
Franco-thaï Consultant | Digital Marketing & Web
Traducteur Interprète assermenté près la Cour d’appel de Montpellier (Thaï – Français)
ล่าม – แปล รับรองศาลฝรั่งเศส ที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบออนไลน์
Numéro SIRET : 882 694 540 00015
Email : ddtraduction@gmail.com