Blog
การนำใบแต่งงานหรือใบหย่าที่ฝรั่งเศสไปเปลี่ยนสถานะของตัวเองที่ประเทศไทย
- 15 février 2023
- Publié par : Admindhappystory
ก่อนอื่นจะขอพูดถึงเรื่องที่อาจจะมีบางท่านเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานภาพคือ
‘จดทะเบียนสมรสที่ฝรั่งเศสแล้ว ต้องไปจดอีกทีที่ไทยไหม’
คำตอบคือ การจดทะเบียนสมรสจดได้ครั้งเดียว หากท่านจดทะเบียนสมรสที่ฝรั่งเศสแล้ว ก็จะมีผลตามกฎหมายไทยด้วย หากแต่ว่าสถานะของท่านในประเทศไทยจะยังคงเป็นสถานะ ‘โสด’ อยู่ จึงต้องไปเปลี่ยนสถานภาพที่ไทย ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงการไปเปลี่ยนสถานะที่ประเทศไทย
ดังนั้น การเปลี่ยนสถานะภาพที่ประเทศไทยไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องมาแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสอีกรอบที่ประเทศไทย
เพิ่มเติม : สำหรับใบจดทะเบียนสมรสและใบหย่าของประเทศฝรั่งเศสนั้นจะเป็นใบเดียวกัน ถ้าคู่สมรสใดหย่ากันในใบจดทะเบียนก็จะมีเขียนในส่วนล่างกระดาษว่าได้หย่ากันแล้ว
การเปลี่ยนสถานะภาพ
เมื่อท่านแต่งงานและจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้วที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วต้องการเปลี่ยนสถานะที่ไทย ท่านจะต้องไป ‘บันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)’ กับทางอำเภอหรือเขตเพื่อเปลี่ยนสถานะในประเทศไทยเป็น ‘สมรส’ โดยการนำใบจดทะเบียนสมรสของท่านที่เป็นภาษาฝรั่งเศส นำไปแปลเป็นไทยให้เรียบร้อยก่อนไปยื่นเพื่อเปลี่ยนสถานะ
ในหัวข้อนี้เราจะมาดูในส่วนของ การนำใบแต่งงานหรือใบหย่าที่ฝรั่งเศสไปเปลี่ยนสถานะของตัวเองที่ประเทศไทย โดยจะขอเริ่มที่ การนำใบแต่งงานหรือใบจะทะเบียนสมรสที่ฝรั่งเศสเพื่อเปลี่ยนสถานนะของท่านที่ไทยก่อนอันดับแรก และจะต่อด้วยการนำใบหย่าไปเปลี่ยนสถานะที่ไทยตามลำดับ
เริ่มแรกเรามาดูกันว่า เราจะมีขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะของตัวเองที่ประเทศไทยอย่างไร
1.การนำใบแต่งงานหรือใบจดทะเบียนสมรสที่ฝรั่งเศสเปลี่ยนสถานนะที่ประเทศไทย
มาเริ่มในส่วนแรก อย่างแรกที่เราต้องทำคือมีใบจดทะเบียนสมรสก่อนเป็นอย่างแรก
1.1 ขอใบจดทะเบียนสมรส
สำหรับใบจดทะเบียนสมรส (Acte de mariage) จะมีอายุ 3 เดือนนับแต่วันที่ออกเอกสาร หากเอกสารของท่านหมดอายุแล้วให้ท่านติดต่อขอใหม่กับทาง Mairie เพื่อขอใหม่
ในการที่ท่านจะขอใบแต่งงานกับ Mairie ใหม่นั้นจะมีให้เลือกสามแบบว่าท่านจะขอแบบใด ได้แก่
- Copie intégrale ฉบับเต็ม
- Extrait avec filiation ฉบับย่อ
- Extrait sans filiation ฉบับย่อเหมือนกันแต่จะย่อกว่าแบบที่2
เราแนะนำให้ข้อแบบที่ 2 คือ Extrait avec filiation (ขอเรียกสั้น ๆ ว่าฉบับย่อ) เพราะฉบับย่อเราจะคิดค่าแปลจะอยู่ที่ใบละ 50 ยูโรต่อแผ่น ส่วนฉบับเต็มค่าแปลจะขึ้นอยู่กับความสั้น-ยาวของเนื้อหา ซึ่งราคาจะสูงกว่าแบบย่อ |
---|
1.2 นำใบจดทะเบียนสมรสไปรับรอง
หากท่านคุ้นชินกับขั้นตอนการแปลเอกสารจะทราบดีว่าทุกเอกสารจะต้องนำไปรับรอง ซึ่งในข้อนี้ก็เป็นแบบเดียวกัน โดยจะต้องนำใบจดจะเบียนสมรสต้องนำไปรับรอง (Légalisation) ที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส เพื่อรับรองว่าเอกสารของท่านนี้ไม่ได้ปลอมแปลงมาแต่อย่างใด
กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส (Bureau des légalisations du Ministère de l’Europe et des Affaires étrangères) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า MAEA
ที่อยู่ :
Ministère des Affaires étrangères
Bureau des Légalisations
57 boulevard des Invalides
75007 Paris
หลังจากเอกสารได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เอกสารของท่านจะมีตราประทับหน้าตาดังนี้
1.3 หลังจากรับรองเสร็จ นำมาแปลโดยส่งตัวจริงมา
ท่านจะต้องส่งตัวจริงของใบจดทะเบียนสมรสมาให้กับนักแปลให้ส่งด้วยจดหมายลงทะเบียนโดยไม่ต้องเซ็นรับ (Lettre recommandée sans accusé de réception)เพื่อกันเอกสารหาย ไม่สามารถสแกนได้ เพราะเมื่อนักแปลแปลเสร็จจะประทับอีก 3 ตราลงไปในเอกสารตัวจริง ดังนี้
1. ประทับตราศาล
2. ตรานักแปลศาลฝรั่งเศส
3. ตราภาษาไทยของนักแปล
1.4 รับรองลายเซ็นของนักแปลกับ Mairie (Légalisation de signature)
เมื่อนักแปลแปลเสร็จ นักแปลก็จะนำเอกสารของท่านไปรับรองรายเซ็นกับ Mairie (ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือดุลพินิจของนักแปลและเงื่อนไขทางเอกสาร หากเอกสารไม่จำเป็นต้องรับรองลายเซ็น ท่านก็จะไม่มีตรารับรองลายเซ็น)
ตรารับรองรายเซ็นของนักแปลกับ Mairie
1.5 รับรองคำแปลที่สถานทูตไทย
เมื่อแปลเสร็จ นักแปลก็จะส่งใบทะเบียนสมรสตัวจริงที่มีตราประทับเพิ่มจากนักแปลและคำแปลไทยกลับคืนให้ท่านเป็นไฟล์ .pdf เพื่อตรวจสอบคำแปลว่ามีส่วนไหนแปลผิดหรือไม่ เช่น ชื่อ ตัวเลข เป็นต้น ท่านมีเวลา48ชั่วโมงในการตรวจสอบคำแปลเพื่อที่หากมีข้อผิดพลาดจะได้สามารถแก้ได้ทันที
เมื่อท่านตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว นักแปลจะส่งฉบับแปลและตัวจริงที่มีตราประทับคืนให้แก่ท่านทางไปรษณีย์
สำหรับเอกสารฝรั่งเศสที่ต้องแปลไทยเพื่อใช้ในราชการไทย จำเป็นต้องได้รับการรับรองคำแปลกับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ท่านต้องนำไปยื่นด้วยตัวเองกับสถานทูตไทย
(วิธียื่นให้สามารถอ่านได้ที่เว็บสถานทูตไทยโดยคลิ๊กที่นี่ โดยอ่านที่หัวข้อที่ 2การรับรองการแปลเอกสาร (จากภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส))
ท่านต้องทำการจองคิวผ่านระบบออนไลน์ก่อนที่จะไปยื่นเอกสารกับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส เพื่อรับรองเท่านั้น ไม่สามารถ walk-in เข้าไปได้
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ปลายทาง อำเภอหรือหน่วยงานว่าจำเป็นต้องให้สถานทูตไทยรับรองคำแปลถูกต้องหรือไม่ ให้สอบถามกับเจ้าหน้าที่ปลายทางเพื่อข้อมูลที่ถูกต้อง
1.6 รับรองสำเนาถูกต้องอีกครั้งกับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในเวลาเดียวกันกับข้อที่ 1.5 ทั้งนี้ในขั้นตอนนี้ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ปลายทางว่า ใบจดทะเบียนสมรสของท่านหลังจากที่แปลมาเรียบร้อยและรับรองคำแปลถูกต้องแล้ว ต้องรับรองสำเนาถูกต้องอีกทีไหม (สอบถามเจ้าหน้าที่ปลายทางอีกครั้ง (อำเภอที่เราจะไปบันทึกคร.22))
1.7 นำเอกสารไปยื่นเพื่อขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
ในขั้นตอนนี้ ให้ท่านติดต่อกับอำเภอหรือเขตที่ท่านจะไปบันทึกบะเทียนฐานะแห่งครอบครัว โดยถามว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างนอกจากใบจดทะเบียนสมรสที่ได้แปลและรับรองมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
* หากท่านไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อไปบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22) ได้ ท่านสามารถทำใบมอบอำนาจได้ที่สถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ เพื่อมอบอำนาจให้คนที่อยู่ที่ไทยทำแทน *
2.การนำใบหย่าไปเปลี่ยนสถานะที่ไทย
ในขั้นตอนการหย่า มีวิธีการคล้ายคลึงกันกับข้อด้านบน แต่เป็นการเปลี่ยนจาก ‘สมรส’ มาเป็น ‘โสด’ เท่านั้น
สำหรับใบหย่านั้นจะเป็นใบเดียวกับใบจดทะเบียนสมรส ซึ่งจะเขียนเกี่ยวกับการหย่าข้างล่างของใบ
ลูกค้าบางท่านไม่มีใบหย่า แต่มีคำสั่งศาล ในความเป็นจริงสามารถใช้ได้ แต่คำสั่งศาลนั้นจะมีความยาวตั้งแต่ 10 ไปจนถึง 50 หน้า ท่านสามารถนำมาแปลกับเราได้ แต่ถ้ามองในมุมของลูกค้าแล้ว เราก็ไม่อยากให้ท่านเสียเงินแปลเอกสารไปหลายบาทเท่าไหร่ เรามีจุดประสงค์ให้ลูกค้าเสียเงินน้อยที่สุด
วิธีแก้เพื่อไม่ให้ท่านเสียเงินเยอะในการแปลคำสั่งสารคือ ให้ท่านไปขอใบจดทะเบียนสมรส (Acte de mariage) ขอแบบ Extrait avec filiation มาเพื่อให้เราแปลเพียงใบเดียวเท่านั้นเพราะใบสมรสและใบหย่าคือใบเดียวกัน
โดยวิธีจะเหมือนกับข้อแรก เพียงแต่ว่าเรามาเปลี่ยนจากสมรสเป็นหย่าเท่านั้น มีวิธีดังนี้
2.1 ขอใบจดทะเบียนสมรส (ใบหย่า)
สำหรับใบแต่งงานหรือใบจดทะเบียนสมรส (Acte de mariage) นี้จะมีอายุ 3 เดือนนับแต่วันที่ออกเอกสาร หากเอกสารของท่านหมดอายุแล้วให้ท่านติดต่อขอใหม่กับทาง Mairie (ให้ขอแบบ Extrait avec filiation)
2.2 นำใบจดทะเบียนสมรส (ใบหย่า) ไปรับรอ
โดยจะต้องนำใบจดจะเบียนสมรส (ใบหย่า) ไปรับรอง (Légalisation) ที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส เพื่อรับรองว่าเอกสารของท่านนี้ไม่ได้ปลอมแปลงมาแต่อย่างใด
กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส (Bureau des légalisations du Ministère de l’Europe et des Affaires étrangères) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า MAEA
ที่อยู่ :
Ministère des Affaires étrangères
Bureau des Légalisations
57 boulevard des Invalides
75007 Paris
2.3 หลังจากรับรองเสร็จให้นำมาแปล โดยส่งตัวจริงมาให้เรา
ท่านจะต้องส่งตัวจริงของใบจดทะเบียนสมรสมาให้กับนักแปลให้ส่งด้วย ให้ส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนโดยไม่ต้องเซ็นรับ (Lettre recommandée sans accusé de réception)เพื่อกันเอกสารหาย ไม่สามารถสแกนส่งมาให้เราเพื่อแปลได้ เพราะนักแปลจะต้องประทับตราลงไปในใบหย่าตัวจริงของท่าน เมื่อนักแปลแปลเสร็จจะประทับอีก 3 ตราลงไปในเอกสารตัวจริง ดังนี้
1. ประทับตราศาล
2. ตรานักแปลศาลฝรั่งเศส
3. ตราภาษาไทยของนักแปล
2.4 รับรองลายเซ็นของนักแปลกับ Mairie (Légalisation de signature)
เมื่อนักแปลแปลเสร็จ นักแปลก็จะนำเอกสารของท่านไปรับรองรายเซ็นกับ Mairie (ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือดุลพินิจของนักแปลและเงื่อนไขทางเอกสาร หากเอกสารไม่จำเป็นต้องรับรองลายเซ็น ท่านก็จะไม่มีตรารับรองลายเซ็น)
2.5 รับรองคำแปลที่สถานทูตไทย
เมื่อแปลเสร็จ นักแปลก็จะส่งใบทะเบียนสมรสตัวจริงที่มีตราประทับเพิ่มจากนักแปลและคำแปลไทยกลับคืนให้ท่านเป็นไฟล์ .pdf เพื่อตรวจสอบคำแปลว่ามีส่วนไหนแปลผิดหรือไม่ เช่น ชื่อ ตัวเลข เป็นต้น ท่านมีเวลา48ชั่วโมงในการตรวจสอบคำแปลเพื่อที่หากมีข้อผิดพลาดจะได้สามารถแก้ได้ทันที
เมื่อท่านตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว นักแปลจะส่งฉบับแปลและตัวจริงที่มีตราประทับคืนให้แก่ท่านทางไปรษณีย์
สำหรับเอกสารฝรั่งเศสที่ต้องแปลไทยเพื่อใช้ในราชการไทย จำเป็นต้องได้รับการรับรองคำแปลกับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ท่านต้องนำไปยื่นด้วยตัวเองกับสถานทูตไทย
(วิธียื่นให้สามารถอ่านได้ที่เว็บสถานทูตไทยโดยคลิ๊กที่นี่ โดยอ่านที่หัวข้อที่ 2การรับรองการแปลเอกสาร (จากภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส))
ท่านต้องทำการจองคิวผ่านระบบออนไลน์ก่อนที่จะไปยื่นเอกสารกับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส เพื่อรับรองเท่านั้น ไม่สามารถ walk-in เข้าไปได้
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ปลายทาง อำเภอหรือหน่วยงานว่าจำเป็นต้องให้สถานทูตไทยรับรองคำแปลถูกต้องหรือไม่ ให้สอบถามกับเจ้าหน้าที่ปลายทางเพื่อข้อมูลที่ถูกต้อง
2.6 รับรองสำเนาถูกต้องอีกครั้งกับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในเวลาเดียวกันกับข้อที่ 2.5 ทั้งนี้ในขั้นตอนนี้ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ปลายทางว่า ใบจดทะเบียนสมรสของท่านหลังจากที่แปลมาเรียบร้อยและรับรองคำแปลถูกต้องแล้ว ต้องรับรองสำเนาถูกต้องอีกทีไหม (สอบถามเจ้าหน้าที่ปลายทางอีกครั้ง (อำเภอที่เราจะไปบันทึกคร.22))
2.7 นำเอกสารไปยื่นเพื่อขอ ‘อัพเดท’ ใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
ในขั้นตอนนี้ ให้ท่านติดต่อกับอำเภอหรือเขตที่ท่านจะไปบันทึกบะเทียนฐานะแห่งครอบครัว โดยถามว่า ต้องใช้เอกสารใดบ้างนอกจากใบจดทะเบียนสมรสที่ได้แปลและรับรองมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว (บางอำเภอบางเขตอาจจะเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม)
* หากท่านไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อไปบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22) ได้ ท่านสามารถทำใบมอบอำนาจได้ที่สถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ เพื่อมอบอำนาจให้คนที่อยู่ที่ไทยทำแทน *
ล่ามดี Dii
Dutsadi BUPPHAKARIPHON
ดุษฎี บุพการีพร
Franco-thaï Consultant | Digital Marketing & Web
Traducteur Interprète assermenté près la Cour d’appel de Montpellier (Thaï – Français)
ล่าม – แปล รับรองศาลฝรั่งเศส ที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบออนไลน์
Numéro SIRET : 882 694 540 00015
Email : contact.ddtradction@gmail.com