Blog
ใบประเพณีหน้าตาเป็นอย่างไร และเขียนอะไรไว้บ้าง ?
- 27 février 2023
- Publié par : Admindhappystory
เมื่อพูดถึงใบประเพณี ท่านที่เคยขอใบประเพณีเพื่อใช้ในการแต่งงานในครั้งแรกเคยสงสัยกันไหมว่า ใบนี้มันคือใบอะไร ข้อความบนใบนั้นเขียนอะไรไว้บ้าง หมายถึงอะไร แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเราในฐานะคนไทย วันนี้เราจะมาแปลใบประเพณีจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทยกัน
ก่อนอื่นเรามาตอบคำถามเบื้องต้นที่หลายท่านอาจสงสัยเกี่ยวกับใบประเพณี
- ใบประเพณี (certificat de coutume) คืออะไร และต้องขอทำไม : ใบที่ออกโดยสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส อันเป็นใบที่แสดงว่า ประเทศไทยเรามีประเพณี กฎหมาย วัฒนธรรม แตกต่างกับประเทศฝรั่งเศส อย่างที่เห็นกันชัด ๆ เลยคือในแง่ของ ใบเกิด ที่ประเทศไทยของเรา รัฐออกให้ครั้งเดียวและใช้ตลอดชีวิต ไม่สามารถให้ตัวจริงได้ และไม่ต้องมาขอใหม่ทุกๆ สามเดือนเหมือนของฝรั่งเศส
- ขอใบประเพณีได้ที่ไหน และขอได้อย่างไร : สามารถคลิ๊กเพื่ออ่านขั้นตอนได้ที่นี่เลย
- ใบประเพณีมีวันหมดอายุหรือไม่ : ไม่มีครับ แต่ไม่ควรเกิน 3 เดือน แล้วแต่เขต
เมื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้นแล้ว เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าใบประเพณีหน้าตาเป็นอย่างไรและเขียนอะไรไว้บ้าง
-คำแปล-
[ตราครุฑ]
เลขที่
สถานเอกอัครราชทูตไทย
8 rue Grauze – 75116 Paris
โทร. 01 56 26 50 50 – Fax. 01 45 05 95 9
ใบประเพณี
สถานเอกอัครราชทูตไทยรับรองว่าเงื่อนไขจำเป็นในการแต่งงานตามขั้นตอนกฎหมายระเบียบข้อบังคับประเทศไทยมีดังต่อไปนี้ :
- ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่มีอายุต่ำกว่าสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ไม่สามารถสมรสได้ กระนั้น ศาลสามารถอนุญาตให้มีการสมรสได้ด้วยเหตุผลที่เหมาะสม
- ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต้องไม่เป็นญาติสืบสายเลือดโดยตรงขึ้นไปหรือโดยตรงลงมา ต้องไม่เกี่ยวข้องทั้งพี่ชายหรือน้องชายและพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาหรือต่างบิดามารดา
- ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญืงต้องไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
- ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแสดงความยินยอมเป็นสามีและภรรยา
- ฝ่ายหญิงที่เป็นหม้าหรือหย่าร้างไม่สามารถสมรสใหม่ได้จนกว่าจะผ่านพ้นระยะเวลาไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวันบริบูรณ์จากวันที่หย่าร้างครั้งก่อน เว้นแต่ 1. คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น 2. สมรสกับคู่สมรสเดิม 3. มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ 4. ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
- ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมไม่สามารถสมรสกันได้
- ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุยังไม่ครบ20ปีบริบูรณ์) ไม่สามารถแต่งงานได้โดยปราศจากการยินยอมของฝ่ายบิดามารดา หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในบิดาหรือมารดาเสียชีวิต การยินยอมจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็เพียงพอแล้ว หากบิดามารดาเสียชีวิตและไม่มีผู้ปกครอง ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะสามารถยินยอมได้เอง
- การสมรสที่จดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศระหว่างคนไทยหรือระหว่างคนไทยและคนต่างชาติจะเป็นผลสัมบูรณ์หากมีการเปลี่ยนสถานะตามกฎหมายไทยตามแบบที่ใช้ในประเทศไทย
- ใบแจ้งการจัดการแต่งงาน (publication de mariage) ไม่มีในประเทศไทย
- สัญญาแต่งงาน (contrat de mariage) สามารถมีการร่างขึ้นได้ระหว่างบุคคลสัญชาติไทยและบุคคลต่างสัญชาติ
- การหย่าร้างโดยความยินยอมร่วมกันที่มีการลงนามอยู่ที่อำเภอถือเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่ต้องมีคำพิพากษาของศาล
- ในประเทศไทย สูติบัตรตัวจริงเป็นเอกสารเฉพาะ เป็นเอกสารที่ออกให้ครั้งเดียวเมื่อแจ้งเกิด การแต่งงานและการหย่าร้างจะไม่ปรากฎอยู่บนสูติบัตรของไทย
- ทะเบียนบ้านเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาข้อมูลบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ สามารถใช้ยื่นได้ในทุกขั้นตอนของราชการได้
ส่งมอบให้แก่ ….
[ตราสถานเอกอัครราชทูตไทย]
[ชื่อ]
[ตำแหน่ง]
[สถานที่ออกและวันที่ออก]
หมายเหตุ : ท่านสามารถขอใบประเพณีทางไปรษณีย์ได้ในเว็บไซต์ (อ่านตรงหมายเหตุ) คล๊กที่นี่
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการพูดคุย สามารถติดต่อได้ที่ข้างล่างนี้
ล่ามดี Dii
Dutsadi BUPPHAKARIPHON
ดุษฎี บุพการีพร
Franco-thaï Consultant | Digital Marketing & Web
Traducteur Interprète assermenté près la Cour d’appel de Montpellier (Thaï – Français)
ล่าม – แปล รับรองศาลฝรั่งเศส ที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบออนไลน์
Numéro SIRET : 882 694 540 00015
Email : contact.ddtradction@gmail.com