Blog
แต่งงานกับคนฝรั่งเศสที่ประเทศไทย
- 28 avril 2023
- Publié par : Admindhappystory
ในหัวข้อนี้เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการแต่งงานกับคนฝรั่งเศสในประเทศไทย มีขั้นตอนหรือวิธีการดังนี้ครับ
จัดเตรียมเอกสาร
เราอยากจะขอแนะนำท่านว่า
- อย่าลืมว่า เอกสารราชการไทยทุกฉบับก่อนจะนำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส จะต้องรับรองสำเนาจากกรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศก่อน
- และเมื่อรับรองสำเนาจากกรมการกงสุลเสร็จแล้ว เอกสารของท่านจะได้รับตราที่บอกว่าเอกสารของท่านถูกรับรองความถูกต้องแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการนำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสกับนักแปลหรือสมาคมที่มีชื่อในสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย(หรือก็คือนักแปลที่ได้รับการรับรองจากสถานทูตฝรั่งเศส)ให้เรียบร้อย
- อย่าลืมปริ้นท์ใบนัดหมายของสถานทูตออกมาด้วย และนำไปให้พร้อมในวันยื่นเอกสาร
***ย้ำ ว่าเอกสารไทยหรือเอกสารใดก็ตามที่มีภาษาไทยจะต้องแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสทั้งหมด รวมถึงพาสปอร์ตและบัตรประชาชนไทยด้วย***
เอกสารที่คนไทยต้องเตรียม :
- สูติบัตรหรือใบรับรองการเกิดตัวจริง (แนะนำว่าให้ท่านไปขอใบรับรองการเกิด เพราะใบรับรองการเกิดจะมีวันที่ออกเอกสารชัดเจน โดยวันที่ออกจะต้องไม่หมดอายุ (ไม่เกิน3เดือน)) และฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส พร้อมสำเนา 1 ชุด บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
- พาสปอร์ตของท่านตัวจริง พร้อมสำเนา และที่แปลเป็นฝรั่งเศสเรียบร้อย
- ทะเบียนบ้านตัวจริง และฉบับแปลเป็นฝรั่งเศสพร้อมสำเนา 1 ชุด
- บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา (ต้องแปลเป็นฝรั่งเศสด้วย)
- ใบโสดตัวจริง และฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส พร้อมสำเนา 1 ชุด (ขอได้ที่เขต)
- ใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุลตัวจริงและฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส พร้อมสำเนา 1ชุด (ถ้ามี)
- เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบหย่ากับคู่สมรสคนก่อน ใบมรณะบัตรของคู่สมรสคนก่อน (รับรองและแปลเป็นฝรั่งเศสให้เรียบร้อย)
อย่าลืมว่าเอกสารเหล่านี้ก่อนจะนำไปแปล จะต้องนำไปรับรองที่กรมการกงสุลก่อน แล้วค่อยนำไปแปลเป็นฝรั่งเศสทุกฉบับก่อนนำไปยื่น
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับคนฝรั่งเศส :
- พาสปอร์ต
- บัตรประชาชน
- สูติบัตร
- เอกสารรับรองการทำงาน
- เอกสารรับรองเงินเดือน
- เอกสารรับรองที่อยู่
- เอกสารแสดงความเป็นสัญชาติฝรั่งเศส
ทั้งนี้ ในส่วนของเอกสาร ขอแนะนำให้ท่านอ่านประกอบอีกทีจากในลิงก์ของสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยโดยตรง >> คลิก << |
---|
VV ภาพที่หนึ่ง VV
VV ภาพที่สอง VV (อย่าลืมโหลดเอกสารเพื่อกรอกข้อมูลไปด้วย)
VV ภาพที่สาม VV
VV ภาพที่ 4 VV
VV ภาพที่ 5 VV
ข้อแนะนำเพิ่มเติม :
ใบรับรองการเกิด :
- สำหรับท่านที่เปลี่ยนชื่อบ่อย จะเกิดปัญหาตรงที่ ชื่อปัจจุบันกับในใบเกิดไม่เหมือนกัน ทำให้ท่านจะต้องนำใบเกิดไปรับรองและแปลเป็นฝรั่งเศส
ซึ่งเอกสารจะเพิ่มขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
วิธีแก้คือให้ท่านไปขอใบรับรองการเกิด เพราะว่าชื่อในใบรับรองการเกิดจะเป็นชื่อปัจจุบันของท่าน หรือก็คือ ท่านไม่จำเป็นต้องยื่นสูติบัตร ให้ขอใบรับรองการเกิดจากเขตและยื่นใบนี้แทนสูติบัตรครับ - ปกติสูติบัตรไทยจะออกครั้งให้เดียว และใช้ตลอดชีวิต แต่สำหรับที่ฝรั่งเศสนั้น ใบเกิดของคนฝรั่งเศสจะมีอายุแค่3เดือน เมื่อหมดต้องขอใหม่ หรือก็คือ ใบเกิดบ้านเขาไม่ได้ออกให้ครั้งเดียวและใช้ตลอดชีวิตเหมือนบ้านเรา
ทำให้ราชการฝรั่งเศสไม่เข้าใจหรือไม่ทราบในส่วนของสูติบัตรไทยว่าออกให้ครั้งเดียวและไม่มีวันหมดอายุเหมือนสูติบัตรฝรั่งเศส
เพื่อเลี่ยงในส่วนของความไม่เข้าใจตรงนี้ ให้ท่านขอใบรับรองการเกิดแทน (สามารถใช้ยื่นแทนสูติบัตรได้เช่นกัน)
เพราะในใบรับรองการเกิดนั้นจะมีเขียนว่าออกเอกสารให้วันที่เท่าไหร่(แน่นอนว่าต้องไม่เกินสามเดือน) ซึ่งจะทำให้ราชการฝรั่งเศสไม่มีปัญหาในเรื่องของอายุของเอกสารนั่นเองครับ
หากสังเกต ตรงบรรทัดเกือบล่างสุด ท่านจะเห็นคำว่า ‘นายทะเบียนได้ตรวจพิจารณาหลักฐานแล้วจึงออกหนังสือฉบับนี้ให้ผู้ขอเมื่อวันที่ XX เดือน XX พ.ศ. XX‘
จองคิว
ให้ท่านจองคิวทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยที่ลิงก์นี้เลย
>> คลิก <<
การจองคิวนี้คือการที่ท่านและแฟนคนฝรั่งเศสของท่านจะส่งเอกสารให้กับสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และสถานทูตนี้ก็จะส่งเอกสารของท่านและแฟนไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศฝรั่งเศสเพื่อติดประกาศ une publication des bans ที่บอร์ดประกาศของเขตเป็นเวลา10วัน และเมื่อสิบวันผ่านไปไม่มีใครมาคัดค้าน เจ้าหน้าที่ก็จำออกใบ CCAM (Certificat de Capacité à Mariage) ให้แก่ท่าน
โปรดทราบว่า ในวันที่มายื่นเอกสารที่สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยนั้น ท่านและแฟนคนฝรั่งเศสจะต้องมาและส่งเอกสารด้วยกันทั้งคู่
วันไปส่งเอกสาร
เมื่อจองคิวเสร็จสิ้นก็รอวันนัดไปยื่นเอกสารที่สถานทูตฝรั่งเศส เมื่อถึงวันที่ท่านไปยื่นเอกสารท่านไปถึงก็นำใบนัดหมายไปให้เจ้าหน้าที่ดู และเจ้าหน้าที่ก็จะให้เรานั่งรอเรียกสัมภาษณ์ เมื่อรอเสร็จก็จะมีแบบฟอร์มให้ท่านกรอก ซึ่งจะเป็นใบประมาณว่า แฟนของท่านชื่ออะไร เจอกันที่ไหม และสัมภาษณ์เรื่องของท่านกับแฟนเราทั่วไป
เมื่อส่งเอกสารเรียบร้อย
เมื่อส่งเอกสารเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการรอ จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน หลังจากรอเสร็จเจ้าหน้าที่ก็จะส่งอีเมลมาให้เรา ในสองเดือนนี้เจ้าหน้าที่จะส่งเอกสารไปที่ฝรั่งเศส
คำถาม : ในสองเดือนนี้เจ้าหน้าที่เขาทำอะไร ?
คำตอบ : ในสองเดือนนี้เจ้าหน้าที่จะส่งเอกสารไปที่ฝรั่งเศส เมื่อเอกสารถึงที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว ทางเขตที่ฝรั่งเศสก็จะนำใบติดประกาศที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ว่าจะมีการแต่งงานระหว่างบุคคลสองคนนี้ เป็นเวลา10วันว่าจะมีผู้ใดมาคัดค้านการแต่งงานหรือไม่ ซึ่งเป็นธรรมเนียมและกฎหมายของฝรั่งเศส เรียกว่า une publication des bans
Publication des bans นี้เป็นกฎข้อบังคับสำหรับชาวฝรั่งเศสทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะแต่งงานในฝรั่งเศสหรือในต่างประเทศ ภายในสถานทูต/สถานกงสุลหรือที่หน่วยงานต่างประเทศ จะต้องมีการติดประกาศ 10 วันอยู่ดีครับ
เมื่อ10วันผ่านไปไม่มีใครมาคัดค้านแล้ว ทางฝรั่งเศสก็จะออกใบที่เรียกว่า un Certificat de Capacité à Mariage หรือ CCAM และส่งกลับไปที่สถานทูตฝรั่งเศสที่อยู่ที่ประเทศไทย
CCAM คือใบรับรองความสามารถในการสมรส ว่าคนคนนี้สามารถสมรสอย่างถูกต้องได้ตามกฎหมาย หากอธิบายง่าย ๆ ก็คล้ายกับใบรับรองโสดของประเทศเรานั่นเองครับ
รับเอกสาร
เมื่อเอกสารจากฝรั่งเศสมาถึงแล้ว สถานทูตฝรั่งเศสก็จะส่งอีเมลนัดหมายวันที่ให้ท่านมารับเอกสาร ท่านก็จะไปรับเอกสารเรียบร้อย ซึ่งเอกสารที่ท่านจะได้คือ CCAM เมื่อได้รับเอกสารเสร็จแล้ว ก็ให้ท่านนำใบ CCAM นั้นไปแปลเป็นภาษาไทยกับนักแปลหรือสมาคมที่สถานทูตฝรั่งเศสรับรอง จากนั้นก็นำไปรับรองคำแปลที่สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และนำไปให้กรมการกงสุลรับรองสำเนา
เมื่อแปลเสร็จสิ้นก็ให้ท่านไปสำนักงานเขตที่ท่านต้องการเพื่อไปจดทะเบียนสมรส โดยนำเอกสารไปด้วยดังนี้ :
คนไทยเตรียม
– บัตรประชาชนกับทะเบียนบ้าน และสำเนาสองชุด
ฝ่ายคนฝรั่งเศสให้นำ
– พาสปอร์ตตัวจริง
– สำเนาพาสปอร์ต
– CCAMที่แปลเป็นภาษาไทย
โดยนำทั้งหมดนี้ไป พร้อมสำเนาอย่างละสองชุด
เสร็จจากนั้นท่านจะได้ใบ คร.2 จากเขตที่ท่านไปจดทะเบียนสมรส ต่อจากนั้นให้ท่านนำใบนี้ไปที่กงสุลเพื่อไปรับรองสำเนา จากนั้นก็นำไปแปลเป็นฝรั่งเศส เสร็จแล้วก็เอาไปยื่นที่สถานทูตฝรั่งเศสที่ประเทศไทย หลังจากที่นำไปยื่นให้สถานทูตฝรั่งเศสเสร็จก็รอประมาณ 7-10 เจ้าหน้าที่ก็จะส่งเมลมาว่าให้เราไปรับเอกสารได้ และในวันที่เราไปรับเราก็จะได้ใบสมรสฝรั่งเศสมาครอบครองพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น livre de famille (เล่มเขียวๆ) ก็เป็นอันเสร็จสิ้นครับ
หลังจากนั้นท่านจะไปเปลี่ยนสถานะของท่านจากโสดเป็นสมรสก็ได้ที่เขต ซึ่งเราได้เขียนไว้แล้ว สามารถอ่านได้ที่ลิ้งก์นี้เลยครับ การนำใบจดทะเบียนสมรสไปเปลี่ยนสถานะ
https://th.ambafrance.org/Mariage-en-Thailande-d-un-ressortissant-francais-et-d-un-ressortissant?fbclid=IwAR36L0UA9OueEBR_PfvpJzR0eGP9h8EpjjJQg26RyyVoHKcaB1FR2tcN8sk
หากท่านมีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติม สามารถเข้ามาพูดคุยได้ที่เพจเฟสบุ๊ก DiiThai ได้เลยครับ |
---|
ล่ามดี Dii
Dutsadi BUPPHAKARIPHON
ดุษฎี บุพการีพร
Franco-thaï Consultant | Digital Marketing & Web
Traducteur Interprète assermenté près la Cour d’appel de Montpellier (Thaï – Français)
ล่าม – แปล รับรองศาลฝรั่งเศส ที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบออนไลน์
Numéro SIRET : 882 694 540 00015
Email : contact.ddtradction@gmail.com