Blog
การทำพินัยกรรมตามกฎหมายฝรั่งเศส
- 27 mars 2023
- Publié par : Admindhappystory
สำหรับการเขียนพินัยกรรมตามกฎหมายฝรั่งเศสนั้น บุคคลในฐานะผู้ทำพินัยกรรม(testateur) จะต้องเคารพต่อกฎหมายฝรั่งเศสในการเขียนพินัยกรรม และอย่าเข้าใจว่าการเขียนพินัยกรรมตามกฎหมายไทยนั้นเหมือนกับของฝรั่งเศสเพราะมันต่างออกไป
พินัยกรรมคืออะไร
พินัยกรรม (Testament) คือเอกสารที่ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนาครั้งสุดท้ายในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ ที่เป็นของผู้ทำนินัยกรรม และจะเกิดผลบังคับใช้เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่กรรม ตัวอย่างเช่น
- การโอนทรัพย์สิน (มรดก) ของผู้ทำพินัยกรรมหลังจากที่เสีนชีวิต และการตัดสินใจเกี่ยวกับการแจกจ่ายแจกแจงมรดกระหว่างผู้รับมรดก
- มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก (L’exécuteur testamentaire)
- มีการระบุความประสงค์เกี่ยวกับร่างกายของผู้ทำพินัยกรรม เช่น การบริจาคอวัยวะ การจัดงานศพ ฯลฯ
- การมอบสิทธิ์ปกครองบุตรของผู้ทำพินัยกรรม
- การรับรองบุตร (Reconnaître un enfant)
ใครบ้างที่สามารถทำพินัยกรรมได้
ในการทำพินัยกรรย ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องมีสามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ :
- มีสติสัมปชัญญะ หรือมีความปกติทางจิต สามารถตระหนักและมีเจตจำนงที่รู้แจ้งเพียงพอ
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะหรือผู้เยาว์ที่อายุมากกว่า 16 ปี (ผู้เยาว์ที่อายุระหว่าง 16 ถึง 18 ปี สามารถยกทรัพย์สินได้เพียงครั้งหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมด เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นผู้เยาว์ที่ได้รับการ)
- มีความสามารถทางกฎหมาย (la capacité juridique) ในการจัดการทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรม
หากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้บรรลุนิติภาวะที่อยู่ภายใต้การปกครอง จะสามารถทำพินัยกรรมได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาศาลผู้ปกครอง (juge de tutelles) หรือสภาครอบครัว (le conseil de famille) แล้วเท่านั้น
ข้อควรทราบ : ไม่สามารถทำพินัยกรรมร่วมกันได้ เช่น สามีและภรรยาเขียนพินัยกรรมฉบับเดียวกันโดยมีชื่อของทั้งคู่อยู่ในพินัยกรรมฉบับเดียวกันว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรม แบบนี้ไม่สามารถทำได้ พินิกรรมจะต้องเป็นชื่อใครชื่อมัน ทำแยกกัน สามีจะเขียนของตัวเอง ส่วนภรรยาก็ต้องเขียนของตัวเอง
เขียนพินัยกรรมอย่างไร
เจตจำนงของผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถเขียนได้เองคนเดียวหรือจะเขียนต่อหน้าโนแตร์ก็ได้
1. เขียนพินียกรรมด้วยตัวเอง
การเขียนพินัยกรรมด้วยตัวเองนี้ไม่ต้องมีโนแตร์อยู่ด้วย สามารถเขียนเองได้เลย ซึ่งการทำพินัยกรรมแบบนี้ภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า ‘olographe’
เพื่อที่จะไม่ให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขสามข้อดังต่อไปนี้ :
- เขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ห้ามพิมพ์แม้แต่ส่วนเดียว)
- ระบุวันที่ไว้อย่างแม่นยำและชัดเจน (ระบุวัน เดือน ปี)
- มีการลงนามของอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่พินัยกรรมจะเป็นโมฆะหรืออาจมีการตีความเจตนาในพินัยกรรมที่ต่างออกไป (ความกำกวม ไม่ชัดเจน ใช้คำผิด ฯลฯ) ผู้ทำพินัยกรรมอาจจะขอคำแนะนำจากโนแตร์ในการเขียนพินัยกรรมได้
2. เขียนพินัยกรรมโดยมีโนแตร์เป็นผู้ร่าง
การทำพินัยกรรมแบบนี้เรียกว่า ‘authentique’ ผู้ทำพินัยกรรมจะให้โนแตร์ร่างขึ้นต่อหน้าพยาน 2 คนหรือต่อหน้าโนแตร์อีกคน เมื่อทำเสร็จเสร็จ โนแตร์จะอ่านพินัยกรรมของผู้ทำให้ฟัง จากนั้นผู้ทำจะต้องลงนามในพินัยกรรม ส่วนโนแตตร์หรือพยานจะต้องลงนามในพินัยกรรมด้วย
เพิ่มเติม : หากผู้ทำพินัยกรรมไม่สันทัดในภาษาฝรั่งเศส จะต้องมีล่ามในขั้นตอนนี้ด้วย ให้สอบถามทนายอีกที
การมอบมรดก
ทรัพย์สินที่อยู่ในพินัยกรรมจะเรียกว่า ‘มรดก (legs)’
ทรัพย์สินใดบ้างที่สามารถเรียกว่ามรดกได้
- ทรัพย์สินจะต้องเป็นของผู้ทำพินัยกรรมเอง
- ทรัพย์สินนั้นอาจจะเป็นบ้าน หอพัก ที่ดิน ฯลฯ และผู้ทำพินัยกรรมยังสามารถยกมรดกที่เป็น เฟอร์นิเจอร์ ยานพาหนะ ภาพวาด ฯลฯ ได้อีกด้วย
- ผู้ทำพินัยกรรมไม่สามารถส่งต่อชื่อหรือตำแหน่งกิตติมศักดิ์ได้
กฎของการมอบมรดก
ผู้ทำพินัยกรรมต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่สามารถตัดทายาทโดยธรรมออกจากกองมรดกได้ และจะต้องสำรองมรดกส่วนนึงไว้ให้กับทายาทโดยธรรม
ประเภทของมรดก
มรดกตามกฎหมายฝรั่งเศสมีสามประเภท ได้แก่
- Le legs universel
มรดกประเภทนี้คือการที่ผู้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของเขาให้กับบุคคลหนึ่งคน(ซึ่งเรียกว่า légataire universel หรือสามารถกำหนดผู้รับมรดกแบบ universel หลายคนก็ย่อมได้เช่นกัน กางแบ่งส่วนของมรดกระหว่างหลายบุคคลจะแบ่งในส่วนเท่า ๆ กัน - Le legs à titre universel
มรดกประเภทนี้คือการที่ผู้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินหรือประเภทของทรัพย์สินให้ส่วนใดส่วนหนึ่ง(เช่น จากมรดกทั้งหมด มอบให้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น) ไม่ได้มอบให้ทั้งหมด เช่น มอบให้เพียงครึ่งหนึ่ง หนึ่งในสี่ ฯลฯ - Le legs particulier
มรดกประเภทนี้คือการที่ผู้ทำพินัยกรรมยกมรดกเฉพาะหนึ่งอย่างขึ้นไปให้แก่บุคคล เช่น ยกอัญมณีให้ กีต้าร์ของมือกีต้าร์ชื่อดังระดับโลก ภาพวาดของแวนโก๊ะ ฯลฯ
ทั้งนี้ ผู้รับมรดกแบบ à titre universel และ universel จะต้องชำระหนี้สินที่ติดมากับมรดกที่ได้รับตามสัดส่วนที่ได้รับจากการแบ่งมรดกด้วย ส่วนผู้รับมรดกแบบ particulier จะไม่มีข้อผูกมัดนี้
ค่าใช้จ่ายในการทำพินัยกรรม
สำหรับพินัยกรรมแบบเขียนเอง (olographe) นั้นไม่เสียเงิน เพราะผู้ทำพินัยกรรมเป็นคนเขียนเองทั้งหมด แต่ถ้าเป็นการทำพินัยกรรมแบบทำกับโนแตร์ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นธรรมดา แต่จะเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกับโนแตร์
การยกเลิกหรือแก้ไขพินัยกรรม
ผู้ทำพินัยกรรมสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้จนกว่าจะเสียชีวิต ในบางกรณีหลังจากที่ผู้ทำเสียชีวิตไปแล้ว ทายาทของผู้ทำพินัยกรรมอาจขอให้ศาลตัดสินให้พินัยกรรมเป็นโมฆะได้
เปลี่ยนไปตามเจตนา
ผู้ทำพินัยกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะถึงแก่กรรม โดยสามารถทำได้โดย
- แจ้งว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมต่อหน้าโนแตร์
- ยกเลิกพินัยกรรมฉบับเดิมและทำพินัยกรรมฉบับใหม่
- ทำลายพินัยกรรมแบบเขียนเอง (เช่น ฉีก เผาทิ้ง เป็นต้น)
การเพิกถอนพินัยกรรม
หลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิต ทายาทสามารถดำเนินการทางกฎหมายเพื่อให้พินัยกรรมเป็นโมฆะได้ โดยสามารถขอเพิกถอนพินัยกรรมได้ดังกรณีต่อไปนี้
ไม่เป็นไปตามข้อผูกพันตามพินัยกรรม
- พินัยกรรมนั้นอาจบังคับให้ผู้รับมรดกทำหน้าที่บางอย่างที่ผู้รับเองไม่เห็นด้วย เช่น จ่ายเงินงวดให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
- ผู้รับมรดกไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในพินัยกรรม ทายาทของผู้ทำพินัยกรรมอาจร้องขอต่อศาลให้มีการเพิกถอนพินัยกรรมได้ โดยทายาทจะต้องร้องขอการยกเลิกภายในห้าปี นับตั้งแต่วันที่ผู้รับมรดกหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามที่พินัยกรรมเขียนไว้
- ผู้พิพากษาจะตัดสินว่าข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวหานั้นร้ายแรงพอที่จะตัดสินให้มีการเพิกถอนพินัยกรรมหรือไม่
การเนรคุณต่อผู้ทำพินัยกรรม
- ทายาทของผู้ทำพินัยกรรมอาจขอยกเลิกพินัยกรรมได้ หากผู้รับมรดกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ที่สื่อถึงความเนคุณต่อผู้ทำพินัยกรรม
- ผู้รับมรดกพยายามฆ่าผู้ทำพินัยกรรม
- ผู้รับมรดกก่ออาชญากรรม ดูหมื่น หรือมีการล่วงละเมิดผู้ทำพินัยกรรมอย่างร้ายแรง
- ผู้รับมรดกดูหมิ่นความทรงจำของผู้ทำพินัยกรรมอย่างร้ายแรง
- ทายาทของผู้ทำพินัยกรรมต้องขอเพิกถอนพินัยกรรมแก่ผู้พิพากษา โดยจะต้องร้องขอการยกเลิกภายในหนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่ทายาทของผู้ทำพินัยกรรมทราบถึงข้อเท็จจริงและสิ่งที่พินัยกรรมเขียนเอาไว้
- ผู้พิพากษาจะตัดสินว่าข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวหานั้นร้ายแรงพอที่จะตัดสินให้มีการเพิกถอนพินัยกรรมหรือไม่
https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/F770
https://www.capital.fr/votre-argent/reserve-hereditaire-1324417
http://www.wealthpartners.co.th/type_of_will/
https://www.creuse.gouv.fr/layout/set/print/Demarches/Etrangers-en-France#!/Particuliers/page/F770
Établir un testament / faire un testament / rédiger un testament : การทำพินัยกรรม / การเขียนพินัยกรรม
Un testament : พินัยกรรม
testateur : ผู้ทำพินัยกรรม
legs : มรดก
la quotité disponible = จำนวนทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่เจ้าของทรัพย์สินสามารถยกให้แก่บุคคลอื่นได้ตามอำเภอใจ
Héritier réservataire = ทายาทโดยธรรม
La réserve héréditaire = ส่วนของมรดกที่สงวนไว้แก่ทายาทโดยธรรม <เจ้าของมรดกไม่สามารถกำจัดส่วนนี้ทิ้งได้ถึงแม้ะไม่พอใจที่จะยกมรดกให้กับทายาทโดยธรรมก็ตาม ผู้มอบมรดกต้องเคารพสัดส่วนของการแบ่งตามกฎหมายมรดกที่สงวนไว้ให้แก่ทายาทโดยธรรม>
หากท่านมีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติม สามารถเข้ามาพูดคุยได้ที่เพจเฟสบุ๊ก DiiThai ได้เลยครับ |
---|
ล่ามดี Dii
Dutsadi BUPPHAKARIPHON
ดุษฎี บุพการีพร
Franco-thaï Consultant | Digital Marketing & Web
Traducteur Interprète assermenté près la Cour d’appel de Montpellier (Thaï – Français)
ล่าม – แปล รับรองศาลฝรั่งเศส ที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบออนไลน์
Numéro SIRET : 882 694 540 00015
Email : contact.ddtradction@gmail.com