Blog
การนำลูกมาอยู่กับเราด้วยที่ฝรั่งเศส
- 7 mars 2023
- Publié par : Admindhappystory
ในหัวข้อนี้ เราจะมาตอบคำถามที่บางท่านอาจสงสัยเกี่ยวกับการพาลูกของท่านมาอยู่กับสามีคนฝรั่งเศส จะมีวิธีใดบ้าง ต้องทำอย่างไร มีได้สองกรณีใหญ่ๆ ได้แก่ 1.ลูกทำวีซ่าติดตามแม่ 2. การให้คู่สมรสชาวฝรั่งเศสรับลูกเราเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ลูกทำวีซ่าติดตามแม่
ในขั้นตอนนี้คือการนำลูกที่เกิดจากเราและคู่สมรสเก่ามาอยู่ที่ฝรั่งเศสด้วยวีซ่าติดตามท่าน แต่ปัญหาจะอยู่ที่ เมื่อลูกมาอยู่กับท่านแล้ว สถานะทางกฎหมายของฝรั่งเศสจะไม่นับว่าลูกของท่าน แต่จะนับเป็นบุคคลที่สามแทน ทำให้เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น การแบ่งทรัพย์หรือมรดก ลูกของท่านจะไม่ได้ในส่วนนี้ จะต้องให้คู่สมรสของท่านเป็นบุตรบุญธรรมเสียก่อน
โดยจะขอแบ่งเป็นสองกรณีได้แก่ 1.1 บุตรที่ยังอายุไม่ถึง 18 ปี และ 1.2 บุตรที่อายุ 18 หรือมากกว่า
1.1 บุตรที่อายุยังไม่ถึง18
ในการนำบุตรที่อายุไม่ถึง 18 ของท่านที่ประเทศไทยมาอยู่ด้วยประเทศฝรั่งเศสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ท่านจะต้องร้องขอการ ‘regroupement familial’ โดยจะขออธิบายว่ามันคืออะไรก่อน
regroupement familial
regroupement familial คือการที่ชาวต่างชาติในประเทศฝรั่งเศสที่มี titre de séjour ซึ่งแสดงถึงว่าคนๆนั้นเป็นบุคคลที่พำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศสได้อย่างถูกกฎหมาย อยู่มานาน และต้องการเชิญครอบครัวของเขามาพบปะกันที่ประเทศฝรั่งเศส
ผู้เชิญ(เช่น ผู้เป็นแม่)จะต้องเป็นคนดำเนินเรื่องให้ผู้ถูกเชิญ(เช่น ลูกที่อยู่ที่ประเทศไทย)เองทั้งหมด และเมื่อคำร้องขอ regroupement familial ผ่านเรียบร้อย ลูกของท่านจะต้องไปขอวีซ่าพำนักระยะยาว (visa de long séjor) ประเภท VLS-TS ซึ่งวีซ่านั้นจะระบุไว้ว่า ‘regroupement familial’ ผู้ร้องขอ regroupement familial
ผู้เชิญจะต้องมีเงื่อนไขใดประกอบจึงสามารถเชิญได้ดังนี้ :
-
- ชาวต่างชาติคนดังกล่าว(ที่เป็นผู้เชิญ)จะต้องพำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลาอย่างน้อย 18 เดือน
- ถือบัตร carte de séjour อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- Carte de séjour ที่มีระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี (ที่ระบุหัวว่า salarié, vie privée et familiale, étudiant, visiteur, ฯลฯ)
- Carte de résident ระยะเวลา 10 ปี
- ใบคำร้องขอการต่ออายุของ carte de séjour (ในกรณีที่carte de séjour หมดอายุ และท่านได้ทำการต่อ carte de séjour แต่ยังไม่ได้บัตร ซึ่งเขาออกใบคำร้องขอการต่ออายุให้ท่าน ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน)
- มีหลักฐานรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนดังนี้
ผู้ร้องขอ regroupement familial ต้องพิสูจน์ว่ามีรายได้ที่มั่นคงและเพียงพอเพื่อให้มั่นใจในรายจ่ายสำหรับครอบครัวให้อยู่ในสภาพการกินการใช้ที่ดี
รายได้ของผู้ร้องต้องถึงจำนวนสุทธิที่กำหนด ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามขนาดของครอบครัว ได้แก่
ขนาดสมาชิกในครอบครัว |
รายได้ขั้นต่ำของผู้ร้องขอ |
2 หรือ 3 คน |
ค่าจ้างการเติบโตขั้นต่ำสุทธิเฉลี่ยต่อเดือน (Smic) เช่น เฉลี่ย€1,353.07ในช่วง 12 เดือนก่อนการร้องขอ |
4 หรือ 5 คน |
โดยเฉลี่ย €1,468 ในช่วง 12 เดือนก่อนหน้าการร้องขอ |
6 คนขึ้นไป | โดยเฉลี่ย €1,601.74 ในช่วง 12 เดือนก่อนหน้าการร้องขอ |
รายได้ของผู้ร้องขออาจมาจากรายได้จากงานที่ได้รับเงินเดือนหรืองานอิสระ, จากการจัดการสินทรัพย์, เงินบำนาญหลังเกษียณ ฯลฯ
*ข้อมูลสืบค้นเมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2566 ในอนาคตจำนวนตัวเลขอาจมีการเปลี่ยนแปลง*
บุคคลใดบ้างที่เข้าเงื่อนไขการถูกเชิญ
- คู่สมรสที่อายุมากกว่า 18 ปีของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส
เช่น สามีและภรรยาเป็นคนไทยทั้งคู่ สามีทำงานที่ฝรั่งเศสจนได้บัตร carte résident 10 ans และต้องการเชิญภรรยาที่อยู่ที่ไทยมาฝรั่งเศส - บุตรของคู่สมรส(ที่อยู่ต่างประเทศ)ที่อายุไม่เกิน 18 ปี
เช่น คนเป็นแม่แต่งงานใหม่กับคนฝรั่งเศสและอยากนำลูกที่เกิดจากคู่สมรสเก่ามาอาศัยอยู่ที่ฝรั่งเศสกับตนและคู่สมรสชาวฝรั่งเศสด้วย
หมายเหตุ : บุตรที่อายุมากกว่า 18 ปี, ญาติ หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวไม่สามารถถูกยื่นในคำร้องขอ regroupement familial ได้
จะรวมแค่ลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและคู่สมรสของตนที่อยู่ในต่างประเทศเท่านั้น
คุณลักษณะของที่อยู่อาศัย
- ผู้ร้องขอจะต้องมีที่พักอาศัยซึ่งถือเป็นเรื่องปกติสำหรับครอบครัวซึ่งอาศัยด้วยกันที่อยู่ในภูมิภาคพื้นที่เดียวกัน หรือการแสดงเหตุผลว่าจะมีที่พักอาศัยในวันที่ครอบครัวเดินทางมาถึง
- ที่พักต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขด้านสุขภาพและข้าวของเครื่องใช้
- ที่พักที่จะให้ผู้ถูกเชิญ(ลูกของท่าน)มาอาศัยร่วมด้วย จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ที่พักตั้งอยู่ โดยจะต้องมีพื้นที่ใช้สอยรวมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- ในโซน A bis และ A : ต้องมีพื้นที่ใช้สอยรวม 22 ตร.ม. สำหรับคู่รักที่อยู่กันเพียงสองคนหรือไม่มีบุตร ท่านต้องเพิ่ม 10 ตร.ม. ต่อหนึ่งบุคคล สูงสุดได้ 8 คน และ 5 ตร.ม. ต่อหนึ่งบุคคล ไม่เกิน 8 คน
- ในโซน B1 และ B2 : ต้องมีพื้นที่ใช้สอยรวม 24 ตร.ม. สำหรับคู่รักที่อยู่กันเพียงสองคนหรือไม่มีบุตร ท่านต้องเพิ่ม 10 ตร.ม. ต่อหนึ่งบุคคล สูงสุด 8 คน และ 5 ตร.ม. ต่อหนึ่งคนไม่เกิน 8 คน
- ในโซน C : ต้องมีพื้นที่ใช้สอยรวม 28 ตร.ม. สำหรับคู่รักที่อยู่กันเพียงสองคนหรือไม่มีบุตร ท่านต้องเพิ่ม 10 ตร.ม. ต่อหนึ่งบุคคล สูงสุด 8 คน และ 5 ตร.ม. ต่อหนึ่งบุคคล ไม่เกิน 8 คน
เพิ่มเติม : ท่านสามารถตรวจสอบว่าท่านอยู่ในโซนอะไรได้ที่นี่ คลิ๊ก <<
แผนที่ฝรั่งเศสที่แสดงถึงเมืองใหญ่ ๆ
ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/29766047513463226/
โซน A bis (สีแดงตามในรูป) = จะอยู่ในช่วงของปารีส เช่น ถ้าท่านอาศัยอยู่ในปารีส ท่านจะถูกนับว่าอยู่โซน A bis
ถ้าท่านอาศัยอยู่บริเวณที่ไม่ได้อยู่ในสีแดง สีส้ม สีเขียว หรือสีฟ้าตามในรูป จะนับว่าท่านอยู่ในโซน C (สีขาวตามรูป)
ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร
- เนื่องจากขั้นตอนการเตรียมเอกสารนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อความถูกต้องแน่นอน จึงขอแนะนำให้ท่านเข้าไปทำแบบสอบถามเพื่อที่ระบบอัตโนมัติจะสามารถบอกท่านได้ว่า ควรใช้เอกสารใดบ้าง สามารถเข้าไปทำได้ที่ คลิ๊กที่นี่ <<
- หลักจากทำแบบสอบถามเสร็จ เว็บไซต์จะจัดเตรียมเอกสารตามที่ตรงกับที่ท่านตอบมาว่าท่านต้องใช้เอกสารใดบ้าง และให้ท่านจัดเตรียมเอกสารดังนั้นในการยื่นขอ regroupement familial
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม Demande de regroupement familial (Formulaire cerfa 11436*05) มาให้เรียบร้อย ลิ้งก์โหลด คลิ๊ก <<
- ผู้ร้องขอจะต้องส่งเอกสาร (แบบฟอร์มที่กรอกเสร็จสมบูรณ์และเอกสารแนบที่เตรียมเสร็จ) ไปทางไปรษณีย์ (ส่งด้วยจดหมายลงทะเบียนที่มีใบส่งคืนที่มีจ่าหน้าซองถึงผู้ส่ง(ให้ท่านจ่าหน้าซองถึงตัวเองให้เรียบร้อยเพื่อพนักงานจะได้ส่งเอกสารกลับมาได้ถูก) (Lettre recommandée avec accusé de réception accusé de réception)) ไปยังโอฟี่ (โอฟี Ofii หรือชื่อเต็ม Office français de l’immigration et de l’intégration) ที่อยู่ใกล้เขตที่ท่านอยู่อาศัย
หมายเหตุ : ท่านสามารถตรวจสอบว่ามีโอฟี่ไหนอยู่ใกล้ท่านมากที่สุดได้ที่เว็บนี้ คลิ๊ก << เมื่อเข้าเว็บไปแล้วให้ท่านกรอกเลขไปรษณีย์ของท่านและระบบจะขึ้นที่อยู่ของโอฟี่ที่ใกล้ท่านที่สุดขึ้นมา
รูปนี้จะแสดงผลว่าท่านได้เลือกคำตอบอะไรไปแล้วบ้าง เช่น มี carte de séjour, สมรสแล้ว,เป็นพนักงานประจำ เป็นต้น
เมื่อเลื่อนลงมาข้างล่างจะเป็นส่วนที่บอกว่า จากกรณีของท่านจะต้องใช้เอกสารใดบ้าง
และเมื่อลงลงมาสุดจะมีลิ้งก์ให้ดาวน์โหลดเอกสารนี้ เราสามารถโหลดเก็บไว้ได้เพื่อในกรณีที่จะช่วยให้เราเตรียมเอกสารได้ง่ายขึ้น
*** และอย่าลืมว่า เอกสารจากราชการไทยต้องได้รับการแปลโดยนักแปลที่ได้รับการรับรองเท่านั้น (traducteur assermenté) ***
เมื่อคำขอผ่านแล้ว ลูกต้องขอวีซ่าอะไร
ตอบ : ลูกของท่านจะต้องขอวีซ่าพำนักระยะยาว (visa de long séjor) ประเภท VLS-TS ซึ่งวีซ่านั้นจะระบุไว้ว่า ‘regroupement familial’
ต้องทำอะไรกับวีซ่า VLS-TS หรือไม่
ตอบ : ผู้ถือวีซ่าแบบ VLS-TS จะต้องรับรองวีซ่าผ่านทางออนไลน์ภายใน 3 เดือนหลังจากเดินทางมาถึงฝรั่งเศส หากเกินกำหนดเวลานี้ จะเดือดร้อนได้และจะไม่สามารถข้ามพรมแดนของพื้นที่เชงเก้นได้อีก
หมายเหตุ : ลูกท่านจะต้องบินมาที่ฝรั่งเศสภายในสามเดือนเมื่อได้รับวีซ่าแล้ว
1.2 บุตรอายุ 18 ปีหรือมากกว่า
ในส่วนนี้ ไม่สามารถทำเรื่องขอ regroupement familial ได้ เพราะไม่นับว่าเป็นบุตรที่ต้องได้รับการเลี้ยงดู ให้ที่พัก ส่งเสริมทางการเงินแล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าลูกจะติดตามท่านหรือหมดโอกาสเข้าประเทศฝรั่งเศสแต่อย่างใด แต่ต้องขอวีซ่าในหัวข้ออื่นเท่านั้นเองครับ
เนื่องจากไม่สามารถทำเรื่องขอ regroupement familial ได้เพราะบุตรอายุเกิน 18 (หรือเทียบเท่า) บุตรของท่านจึงต้องขอวีซ่า type D ในจุดประสงค์อื่นที่ไม่ใช่regroupement familial ซึ่งจะอยู่ในประเภทอะไรนั่นก็แล้วแต่จุดประสงค์ เช่น ท่านจะนำบุตรอายุ20มาทำงานในร้านอาหารด้วย ก็ให้บุตรท่านยื่นขอวีซ่าทำงาน (ในกรณีที่ท่านจะนำบุตรที่อายุมากกว่า 18 มาทำงานในร้านอาหารที่ตัวเองเปิด) เป็นต้น
2. การนำลูกที่เกิดจากคู่สมรสเก่ามาอยู่กับท่านและคู่สมรสใหม่ชาวฝรั่งเศส
ในวิธีนี้เข้าใจได้ไม่ยาก สิ่งที่ท่านต้องทำคือ : นำลูกของท่านมาอยู่ด้วยและให้สามีรับลูกของท่านเป็นบุตรบุญธรรมเท่านั้นเอง (บุตรบุญธรรมจะมีสิทธิ์เท่ากันกับบุตรปกติทุกประการ)
คู่สมรสชาวฝรั่งเศสรับลูกของคู่สมรสชาวไทยเป็นบุตรบุญธรรมได้ โดยต้องทำตามเงื่อนไขขั้นตอน หากเป็นลูกที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกก่อน การดำเนินการจะต้องทำขึ้นในศาลฝรั่งเศส
ผู้รับบุตรบุญธรรมอาจเป็น
- บุคคลๆเดียว(โสด)
- คู่รัก
- คู่สมรสไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานก็ได้
(concubinage)
ผู้รับบุตรบุญธรรมสามารถรับผู้เยาว์หรือผู้ที่บรรลุนิติภาวะเป็นบุตรบุญธรรมได้ทั้งนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เยาว์อย่างเดียว
การรับบุตรบุญธรรมมี 2 แบบ ได้แก่
- การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดา (adoption simple)
คือการรับบุตรบุญธรรมในกรณีที่ใบสูติบัตรของเด็กมีชื่อผู้ปกครองอีกฝ่ายระบุไว้ (เช่น ชื่อพ่อและแม่แท้ๆ) เมื่อทำเรื่องรับบุตรบุญธรรมแล้วจะมีชื่อพ่อสองถูกคนระบุไว้ในสูติบัติ แต่พ่อบุญธรรมจะมีสิทธิ์ในตัวเด็กมากที่สุด การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาความสัมพันธ์กับครอบครัวผู้ให้กำเนิดจะยังคงอยู่ - การรับบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์ (adoption plénière)
การรับบุตรบุญธรรมในกรณีคือการที่ใบสูติบัตรของเด็กไม่มีชื่อผู้ปกครองอีกฝ่ายระบุไว้ บุตรบุญธรรมจะไม่มีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับครอบครัวเดิมอีก ในกรณีของการรับบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์ ความสัมพันธ์ของผู้รับบุตรบุญธรรมกับครอบครัวผู้ให้กำเนิดของเด็กคนนั้นจะถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง
ในหัวข้อนี้เราจะขอพูดถึงการรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาอย่างเดียวเท่านั้น
2.1 การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาที่เป็นผู้เยาว์ (mineur)
ท่านจะต้องยื่นเรื่องการขอรับบุตรบุญธรรมกับศาล (Tribunal judiciaire)
เงื่อนไขของผู้รับบุตรบุญธรรม
- ต้องมีอายุมากกว่า 26 ปีขึ้นไป
- ต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรม 15 ปี แต่ศาลสามารถอนุโลมให้ได้หากอายุของทั้งสองน้อยกว่า 15 ปีด้วยเหตุผลที่เหมาะควร
- ท่านจะอยู่ในสถานะภาพสมรสหรือไม่ได้สมรสก็ได้ อยู่คนเดียว(โสด) หรืออยู่ในความสัมพันธ์ หากท่านสมรสหรือจดทะเบียน PACS คู่ของท่านจะต้องให้ความยินยอมในการรับบุตรด้วย
เงื่อนไขของบุตรบุญธรรมที่เข้าข่าย
- ผู้ปกครองหรือบิดามารดาแท้ ๆ ของผู้เยาว์ยอมรับให้ถูกรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้รับบุตรบุญธรรม
- ผู้ปกครองหรือบิดามารดาแท้ ๆ ของผู้เยาว์ถูกศาลตัดสินให้พ้นสภาพในสิทธิ์เลี้ยงดูบุตร
- ผู้เยาว์ต่างชาติตามกฎหมายที่บังคับใช้
- ผู้เยาว์ที่ไม่สามารถถูกรับเป็นบุตรบุญธรรมได้ในประเทศบ้านต้นทาง
2.2 การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาที่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ (majeur)
ท่านสามารถรับเลี้ยงผู้บรรลุนิติภาวะได้หากท่านตรงตามเงื่อนไขบางประการ ผู้บรรลุนิติภาวะต้องยินยอมให้รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมต่อหน้าศาล
เงื่อนไขของผู้รับบุตรบุญธรรม
- อายุมากกว่า 26 ปีและแก่กว่าผู้บรรลุนิติภาวะ 15 ปี
- ท่านจะอยู่ในสถานะภาพสมรสหรือไม่ได้สมรสก็ได้ อยู่คนเดียว(โสด) หรืออยู่ในความสัมพันธ์ หากท่านสมรสหรือจดทะเบียน PACS คู่ของท่านจะต้องให้ความยินยอมในการรับบุตรด้วย
เพิ่มเติม : บุตรบุญธรรมสามารถเพิกถอนความยินยอมได้ตลอดเวลาจนกว่าจะมีการตัดสินใจรับบุตรบุญธรรม
การเปลี่ยนชื่อชื่อและนามสกุลต้องได้รับความยินยอมจากตัวบุตรบุญธรรมเสียก่อน
รูปแบบของการรับุตรบุญธรรม
การรับบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะมีเพียงแบบธรรมดาเท่านั้นและยังคงมีความสัมพันธ์กับครอบครัวเก่าและครอบครัวใหม่ในเวลาเดียวกันการรับบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (ถึง 21 ปี) ทำเป็นแบบสมบูรณ์ได้หากท่านอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
- เด็กได้อาศัยอยู่กับท่านแล้วตั้งแต่ตอนที่เด็กมีอายุน้อยกว่า 15 ปี แต่ในตอนนั้นท่านมีเงื่อนไขไม่ครบในการรับบุตรบุญธรรม
- ท่านเคยรับเด็กคนดังกล่าวเป็นบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาตอนที่เขามีอายุน้อยกว่า 15 ปี
การยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม
- บุตรบุญธรรมต้องให้การยินยอมต่อหน้า notaire ผู้ทำเอกสาร acte authentique (เอกสารพร้อมลายเซ็นที่มีผลทางกฎหมาย)
- ในกรณีที่เด็กอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถให้การยินยอมได้ ศาลต้องขอความเห็นจากบุคคลที่ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิเด็ก (เช่น tuteur, curateur)
- หากท่านมีคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน ต้องได้รับการยินยอมจากบุคคลดังกล่าวด้วย
- การยินยอมรับบุตรบุญธรรมทำขึ้นโดยใช้กระดาษธรรมดาได้ หรือจะใช้ notaire เพื่อทำเอกสาร acte authentique ขึ้นมาก็ได้เช่นกัน
- บุตรบุญธรรมเปลี่ยนแปลงความยินยอมได้ทุกเมื่อจนกว่าจะมีคำตัดสินศาล
- การเปลี่ยนชื่อ-สกุลต้องได้รับการยินยอมจากบุตรบุญธรรมด้วย
ทั้งนี้ สำหรับเอกสารราชการไทย อาทิเช่น ใบเกิด หรือเอกสารราชการไทยที่จะต้องนำไปใช้ในราชการฝรั่งเศสจำเป็นต้องได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น และจะต้องแปลกับนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลฝรั่งเศส (traducteur assermenté)
สำหรับการส่งเอกสารให้นักแปล หรือการแปลใบเกิด ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
การส่งเอกสารให้นักแปล << คลิ๊ก
การแปลใบเกิดไทยเป็นฝรั่งเศส << คลิ๊ก
https://www.justifit.fr/b/guides/droit-etrangers/regroupement-familial/
https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/F35147/4_4?idFicheParent=F11166&lang=en#4_4
https://www.demarches.interieur.gouv.fr/particuliers/carte-sejour-temporaire-visiteur-etranger-france
https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/F35147/4_4?idFicheParent=F11166#4_4
https://www.immigration.interieur.gouv.fr/Immigration/Les-visas/Les-visas-de-long-sejour
https://www.ecologie.gouv.fr/zonage-b-c
https://www.ofii.fr/ou-nous-trouver/
https://demarchesadministratives.fr/demarches/visa-de-long-sejour-valant-titre-de-sejour-vlsts
https://www.demarches.interieur.gouv.fr/particuliers/visa-long-sejour-sejour-mois-an
https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/F16162
https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/F11166
https://demarchesadministratives.fr/demarches/faire-une-demande-de-regroupement-familial
https://www.axa-schengen.com/fr/regroupement-familial-france
https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/F933
คำถามพบบ่อย (FAQ)
ตอบ : วีซ่าของฝรั่งเศสมีสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
1.วีซ่าระยะสั้น (visa de court séjour)
2. วีซ่าระยะยาว (visa de court séjour)
โดยวีซ่าระยะสั้นนั้นจะอนุญาตให้ท่านอยู่ในฝรั่งเศสได้สูงสุด 3 เดือน มากกว่านั้นไม่ได้ โดยวีซ่านี้มักจะออกให้บุคคลที่มีภารกิจในฝรั่งเศสระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส หรือเยี่ยมเยียนครอบครัว( les visites familiales ou privées) เป็นต้น
ส่วนวีซ่าระยะยาวนั้นจะเป็นวีซ่าที่อนุญาตให้ท่านสามารถพำนักอยู่ในฝรั่งเศสได้อย่างถูกกฎหมายในระยะเวลาสามเดือนถึงหนึ่งปี
ในส่วนนี้ล่ามดีขอยกเป็นสองกรณีครับ
ในกรณีแรกคือ ท่านหรือผู้มีอำนาจในการรับสมัครพนักงานในร้านตกลงจะรับญาติ(ขอสมมติว่าท่านจะเชิญญาติมาทำงานที่ร้านของท่าน)แล้วแน่ๆ 100% ท่านจะต้องออกสัญญาที่เกี่ยวกับการจ้างงานและเอกสารสำคัญต่างๆ (ท่านต้องเป็นคนเดินเรื่องเอกสารนี้เอง) เพื่อใช้เป็นข้อมูลหลักฐานประกอบในการยื่นขอวีซ่า
ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้เดินเรื่องขอใบอนุญาตทำงานให้เรานั่นเอง และเราจะต้องยื่นเอกสารสำคัญอื่น ๆ ต่อสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย เช่น สัญญาว่าจ้างที่รับรองว่าเราได้รับว่าจ้างให้เข้าทำงานแล้ว
สรุปก็คือ ก่อนขั้นตอนการขอวีซ่า ญาติท่านจะต้องมีสถานที่ทำงานที่ได้ตกลงว่าจ้างแล้วเรียบร้อยและสัมภาษณ์งานให้เรียบร้อยก่อน ต่อมานายจ้าง(อาจจะเป็นท่านหรือผู้มีอำนาจในร้านที่จะว่าจ้างญาติมาทำงาน) จะเป็นผู้ทำสัญญาว่าจ้างที่มีกำหนดการเริ่มงาน รายได้ และชั่วโมงการทำงานอย่างชัดเจนรวมถึงข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ของบริษัทด้วย
กรณีที่สองคือ ยังไม่ได้รับเข้าทำงาน แต่จะต้องเรียกมาสัมภาษณ์ก่อน (อาจจะยังไม่แน่ใจหรือต้องมีขั้นตอนอะไรก่อนที่จะเข้ารับ)
ในกรณีนี้จะต่างจากในกรณีแรกตรงที่ยังไม่ได้รับเข้าทำงานทำให้ไม่มีหลักฐานในการจ้างงานที่ชัดเจน แต่จะเป็นในลักษณะของการต้องเดินทางไปที่ฝรั่งเศสเพื่อไปสัมภาษณ์งานก่อน ในส่วนนี้ท่านอาจจะต้องออกหลักฐานที่แสดงว่า ทางร้านจะมีการเรียกญาติของท่านสัมภาษณ์งาน ในส่วนของวีซ่านั้นญาติจะต้องขอวีซ่าเชงเก้น (Schengen) หรือสามารถขอเป็นวีซ่าท่องเที่ยวก็ได้ (วีซ่าที่มีระยะเวลาการอยู่ในฝรั่งเศสน้อยกว่า 90 วัน) เพื่อดูแนวทางว่าท่านจะรับญาติเข้าทำงานหรือไม่
ขอย้ำเพิ่ม : ท่านจะสามารถขอวีซ่าทำงานในฝรั่งเศสได้ก็ต่อเมื่อได้ที่ทำงานและทางร้านหรือบริษัทตกลงจะรับท่านเข้าทำงานแบบ100%แล้วเท่านั้น ไม่สามารถขอวีซ่าทำงานได้หากยังไม่ได้ถูกรับเข้าทำงาน
ล่ามดี Dii
Dutsadi BUPPHAKARIPHON
ดุษฎี บุพการีพร
Franco-thaï Consultant | Digital Marketing & Web
Traducteur Interprète assermenté près la Cour d’appel de Montpellier (Thaï – Français)
ล่าม – แปล รับรองศาลฝรั่งเศส ที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบออนไลน์
Numéro SIRET : 882 694 540 00015
Email : contact.ddtradction@gmail.com
หากท่านมีคำถาม สามารถส่งคำถามมาได้ทางอีเมล contact.ddtraduction@gmail.com หรือเพจเฟสบุ๊ก DiiThaiFrance ได้ที่ลิ้งก์นี้ |
---|