Blog
การหย่าที่ประเทศฝรั่งเศส
- 17 février 2023
- Publié par : Admindhappystory
ในหัวข้อที่ผ่านมา เราได้ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการแต่งงานที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะพูดถึงเรื่องการหย่าที่ประเทศฝรั่งเศส โดยจะขอเรียงตั้งแต่ ท่านควรทำอย่างไร ไปจนถึงการหย่าเสร็จสิ้น
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการหย่า |
---|
การหย่ามีกี่ประเภท
อ้างอิงจากกฎหมายฝรั่งเศสแล้วการหย่ามีหลายแบบ แต่จากประสบการณ์ของล่ามดี การหย่าในประเทศฝรั่งเศสมี 2 แบบหลัก ๆ คือ 1.การหย่าโดยการยินยอมทั้งสองฝ่าย (Divorce à l’aimable) และ 2. การฟ้องหย่า (Divorce contentieux)
- การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย (Le divorce à l’aimable / Le divorce par consentement mutuel หรือ Le divorce sans juge)
เป็นการหย่าโดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทะเลาะหรือมีความบาดหมางกันด้วยเหตุผลส่วนตัว การหย่าในลักษณะนี้มักจะเกิดกับคู่สมรสที่สามารถหาทางออกร่วมกันได้เรียบร้อยแล้ว - การฟ้องหย่า (Divorce contentieux) เป็นการหย่าในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการจะหย่า แต่อีกฝ่ายไม่ยอมหย่า จึงต้องมีการฟ้องหย่ากันเกิดขึ้น
ขั้นตอนการหย่า
1.ขั้นตอนการหย่า : ถ้าอยากหย่าเริ่มต้นยังไง
บุคคลแรกที่ท่านควรมองหาเลยคือทนาย แต่ก่อนที่จะไปหาทนายเพื่อปรึกษาเรื่องการหย่านั้น เราขอแนะนำขั้นตอนให้ เพื่อเป็นคำถามทบทวนตัวท่านเองด้วยการเรียงลำดับให้ท่านเข้าใจง่าย จึงขอแบ่งออกดังนี้
- ประการแรก ก่อนที่ท่านจะไปหาทนาย ท่านควรทราบสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนว่า ท่านต้องการหย่าหรือไม่หย่ากับคู่สมรส โดยหากมีความคิดว่าจะหย่าเมื่อท่านไปปรึกษากับทนายแล้วจะได้ยืนยันคำตอบให้ชัดเจนเลยว่าต้องการให้ทนายช่วยอะไร เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและตรงประเด็นที่สุด
- ประการที่สอง ให้ท่านอ่านสัญญาแต่งงานของตัวเอง (Contrat de mariage) (ในกรณีที่มี) ให้เข้าใจ อ่านให้ละเอียดและถี่ถ้วนก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งในสัญญาแต่งงานของท่านจะมีข้อตกลง เงื่อนไข ข้อกำหนด สิทธิ์ของตัวท่านเองเขียนไว้ว่ามีอะไรบ้าง หย่าแล้วได้อะไร และที่สำคัญเลยคือ ท่านต้องรู้ว่าสัญญาแต่งงานของตัวเองอยู่ที่ไหนหรือเก็บไว้ที่ไหน ให้เตรียมสัญญาแต่งงานและใบจดทะเบียนสมรสไปปรึกษาทนายในขั้นตอนต่อไป
หากสัญญาแต่งงานหาย ท่านสามารถขอกับ Notaire ที่เคยทำสัญญาแต่งงานให้ท่าน หากจำชื่อไม่ได้ให้ไปดูที่ acte de mariage ซึ่งจะมีชื่อของ notaire ที่ทำสัญญาแต่งงานให้ท่านกับคู่สมรส
หากใบจดทะเบียนสมรสหาย ให้ท่านขอกับ Mairie โดยสามารถขอได้ 3 แบบคือ 1.Walk-inไปขอที่ Mairieเลย 2.ขอผ่านทางจดหมาย 3.ขอผ่านทางอีเมล
รายละเอียดท่านสามารถอ่านได้ที่เว็บนี้เลย
1.1 ปรึกษาทนาย
เมื่อท่านทราบแล้วว่าท่านได้รับสิทธิ์อะไรบ้างในการหย่าครั้งนี้หลังจากการอ่านสัญญาแต่งงานแล้ว ให้ท่านไปปรึกษากับทนาย โดยก่อนที่จะเลือกทนายที่ปรึกษานั้น เราขอแนะนำท่านว่า ให้ปรึกษากับทนายให้ถูกประเภท
วิธีเลือกทนาย
ให้ปรึกษากับทนายที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายครอบครัว (avocat en droit de la famille) เพราะเป็นทนายเฉพาะการหย่าและครอบครัว ถ้าท่านไม่ทราบว่าจะหาทนายด้านกฎหมายครอบครัวจากไหน ให้ลองปรึกษากับทนายที่รู้จักดูเพราะเขาอาจจะแนะนำเพื่อนทนายของเขามาให้ท่าน
เมื่อเลือกทนายได้แล้ว
อย่างแรกเลยให้ท่านคิดสิ่งที่จะพูดเมื่อได้คุยกับทนาย เพื่อไม่ให้ทิศทางของการปรึกษาสะเปะสะปะ และเสียเวลา เนื่องจากค่าปรึกษาทนายครั้งแรกอาจจะฟรี แต่ชั่วโมงต่อไปจะคิดตามเรทราคา และที่สำคัญคือ ท่านต้องทำความเข้าใจสัญญาแต่งงานกับใบทะเบียนสมรสก่อน เพราะต้องนำ 2ใบนี้นี้ไปยื่นให้ทนายดู
** หากท่านไม่สันทัดภาษาฝรั่งเศส ควรมีล่ามไปด้วย ** |
---|
1.1.1 หัวข้อที่ควรคุยเมื่อได้ปรึกษากับทนาย
- ราคาของทนาย
– คนส่วนใหญ่ลืมถามทนายเรื่องราคา ทั้งในเรื่องราคาของการขอคำปรึกษา และราคาในการว่าความให้ รวมถึงการคุยเพื่อตกลงกับทนายว่า ท่านจะนำเงินจากไหนมาจ่ายค่าทนาย
– รวมถึง Commission de résultats คือ ทนายต้องการกี่เปอร์เซ็นจากสินสมรสที่เราฟ้องหย่าได้ มีตั้งแต่1-15% - ควรทำอย่างไรดี
– ในส่วนนี้เป็นจุดประสงค์หลัก เพราะเรามาปรึกษาทนายว่าในเหตุการณ์ชีวิตคู่ของเรามีอะไรเกิดขึ้น และเราควรจะทำอย่างไรดีในแง่ของกฎหมาย ทนายจะให้คำปรึกษาอะไรกับเราได้บ้าง เช่น ถูกคู่สมรสนอกใจ เราสามารถทำอะไรได้บ้าง เราแนะนำให้ท่านลองเขียนหัวข้อคำถามที่จะไปถามทนาย เพื่อที่เมื่อไปถึงแล้วจะได้ไม่เสียเวลา - นำสัญญาแต่งงานและใบจดทะเบียนสมรสให้ทนายดู
– เพื่อความถูกต้องของทิศทางที่ทนายจะให้คำแนะนำแก่เรา ใบสัญญาแต่งงานจะมีส่วนที่บอกว่าเราสามารถได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง ในข้อนี้ทนายจะบอกเราว่าเราสามารถเรียกอะไรจากคู่สมรสได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุตร การจัดการเรื่องทรัพย์สิน ฯลฯ
– ในข้อนี้ท่านจะเข้าใจในสิ่งที่ทนายให้คำปรึกษามากยิ่งขึ้นเพราะได้ทำความเข้าใจกับสัญญาแต่งงานตัวเองมาแล้ว ท่านจะสามารถตอบคำถามตัวเองได้แล้วว่า
1.เงื่อนไขที่ตัวเองจะได้รับมีอะไรบ้าง หย่าแล้วได้อะไร ตัวเองมีสิทธิ์อะไรบ้าง
2.เมื่อเลือกที่จะหย่า ผลลัพธ์จากการหย่าจะเป็นอย่างไร หย่าแล้วจะเกิดอะไรขึ้นตามมา
1.2 การว่าจ้างทนายและล่าม
บางท่านอาจไม่สันทัดเรื่องเงิน จึงไม่สามารถจ้างทนายไหว และอาจะเกิดคำถามว่า ‘ไม่จ้างทนายได้ไหม’ กฎหมายฝรั่งเศสนั้นไม่ว่าจะฝ่ายใดขอหย่าจะต้องใช้ทนายเหมือนกัน ไม่ใช้ทนายไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการหย่าในลักษณะยินยอมร่วมกันหรือการฟ้องหย่า ล้วนต้องใช้ทนายทั้งสิ้น
1.2.1 ประเภทของการจ้างทนายและ notaire
- ทนาย (Avocat) 1 คน และ notaire 1 คน = รวม 2 คน
ในประเภทแรก เป็นการว่าจ้างทนายคนเดียวกันทั้งสองฝ่าย และ notaire คนเดียว ประเภทนี้สำหรับคู่สมรสที่ทรัพย์สินไม่ได้เยอะมากเกินไปหรืออาจจะไม่สันทัดเรื่องเงิน ประเภทนี้เป็นประเภทที่เราแนะนำ โดยคู่สมรสสามารถตกลงกันได้ว่าใครจะจ่ายค่าทนาย
ข้อดีคือ ประหยัด
ข้อเสีย สิ่งที่ต้องระวังคือ ต้องแน่ใจกับเอกสารทุกฉบับว่าแปลได้ถูกต้องตามเจตนารมของท่านหรือเปล่า แบ่งสมบัติได้ตามความต้องการของท่านหรือเปล่า - ทนาย (Avocat) 2 คน และ notaire 1 คน = รวม 3 คน
ในประเภทนี้ คู่สมรสอาจเกิดการไม่ไว้ใจกันและกัน จึงจ้างทนายคนละคน - ทนาย (Avocat) 2 คน และ Notaire 2 คน = รวม 4 คน
ในประเภทนี้ คู่สมรสคนใดคนหนึ่งอาจจะไม่ไว้ใจวางใจ notaire ว่ามีความเป็นกลางจริงหรือไม่ จึงจ้าง notaire แยกกันกับคู่สมรสอีกฝ่าย
เรททนายความ 220-350 ยูโรต่อชั่วโมง หรืออาจตามตกลง ส่วน Notaire 300-350 ยูโรต่อชั่วโมง |
---|
1.2.2 ล่าม
หากท่านไม่สันทัดเรื่องภาษาฝรั่งเศส ท่านจำเป็นต้องใช้ล่าม แต่เราก็สามารถขอล่ามฟรีได้ หรือง่ายที่สุดในกรณีที่ท่านไม่มีเงินจริง ๆ ให้เพื่อนของท่านที่ฟัง-พูดฝรั่งเศสออกมาเป็นล่ามให้
ถ้าหากศาลไม่อนุญาติให้ใช้เพื่อนมีการล่ามและกำหนดให้ใช้ล่าม ให้ท่านไปที่สมาคม : ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส หรือ สมาคม Thaï Provence
ในกรณีที่ท่านสามารถจ้างล่ามได้ เราแนะนำให้เลือกล่าม interprète assermenté เพราะล่ามดังกล่าวจะมีความเป็นกลาง และเอกสารจะยิ่งมีความถูกต้องมากขึ้น
เรทราคาของล่ามจะอยู่ที่ 50-150 ยูโรต่อชั่วโมง
1.3 ลำดับเหตุการณ์อย่างเบื้องต้นการหย่า
เพิ่มเติม : ในกรณีที่หย่ากันไม่ได้ ศาลจะเป็นคนตัดสินบังคับโดยออกใบ jugement de divorce (คำสั่งศาลให้หย่า)
|
---|